การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้วยชุดการเรียนรู้ เรื่อง การเปลี่ยนแปลง โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบซิปปา (CIPPA Model)

0
373

ชื่อเรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้วยชุดการเรียนรู้ เรื่อง การเปลี่ยนแปลง โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบซิปปา (CIPPA Model)
ชื่อผู้ นางณภาพร ศรีวะรมย์
ปีที่รายงาน

การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้วยชุดการเรียนรู้ เรื่อง การเปลี่ยนแปลง โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบซิปปา (CIPPA Model) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา อุปสรรคด้านการเรียนรู้ และความจำเป็นในการประเมินทักษะและกระบวนการคิด สำหรับครูกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โรงเรียนสนามบิน 2) เพื่อสร้างชุดการเรียนรู้ เรื่อง การเปลี่ยนแปลง เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบซิปปา (CIPPA Model) 3) เพื่อทดลองใช้ชุดการเรียนรู้ เรื่อง การเปลี่ยนแปลง เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบซิปปา (CIPPA Model) และ 4) เพื่อประเมินผลการใช้ชุดการเรียนรู้ เรื่อง การเปลี่ยนแปลง เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบซิปปา (CIPPA Model) กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/8A ห้องเรียน IEP โรงเรียนสนามบิน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา  จำนวน 31 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เวลาที่ใช้ทำการทดลองทั้งหมด 16 ชั่วโมง แบบแผนการทดลองครั้งนี้เป็นแบบ one-group pretest–posttest design และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติ ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test dependent samples) 
ผลการวิจัยพบว่า 
1. ผลการศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและอุปสรรคด้านการเรียนรู้พบว่า รายงานผลการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ ประจำปี 2561-2562 จะเห็นว่าคะแนนการสอบในสาระที่ 2 วิทยาศาสตร์กายภาพมีคะแนนเฉลี่ยต่ำกว่าทุกสาระ และเมื่อพิจารณาผลการทดสอบตามสาระการเรียนรู้ พบว่า สาระวิทยาศาสตร์กายภาพ เรื่อง การเปลี่ยนแปลง มีคะแนนเฉลี่ยต่ำสุด จึงเป็นข้อสรุปที่โรงเรียนควรเร่งพัฒนาในสาระดังกล่าว และผลการสัมภาษณ์ ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ โรงเรียนสนามบิน พบว่า ครูยังขาดความรู้ความเข้าใจในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะและกระบวนการคิด ยังไม่เห็นความสำคัญของการพัฒนาทักษะและกระบวนการคิด เน้นเฉพาะการเรียนการสอนและการประเมินเนื้อหาสาระเป็นส่วนใหญ่ ครูจึงปฏิบัติการประเมินไม่ถูกต้องตามหลักการและแนวทางการประเมินผลการเรียนรู้ ครูเลือกใช้วิธีการวัดและประเมินผลไม่เหมาะสม     ขาดทักษะในการสร้างและการวิเคราะห์หาคุณภาพของเครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน การเลือกใช้เครื่องมือไม่หลากหลาย เครื่องมือที่ใช้ประเมินไม่มีคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้วัดเน้นการวัดเฉพาะความรู้ ความจำและความเข้าใจ อีกทั้งครูยังขาดทักษะ ความรู้ในการสร้างเกณฑ์การประเมินทักษะและกระบวนการคิดอีกด้วย
 2. ผลการพัฒนาชุดการเรียนรู้ เรื่อง การเปลี่ยนแปลง ตามรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบซิปปา (CIPPA Model) ก่อนนำไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่าง ปรากฏผลดังนี้ การหาประสิทธิภาพรายบุคคล 64.14/61.67 การหาประสิทธิภาพกลุ่มย่อย 75.79/74.17 และการหาประสิทธิภาพภาคสนาม 81.56/81.33
 3. ผลการใช้ชุดการเรียนรู้ เรื่อง การเปลี่ยนแปลง ตามรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบซิปปา (CIPPA Model) มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80 โดยชุดการเรียนรู้ที่สร้างขึ้น มีค่าประสิทธิภาพเป็น 85.74/82.10 และและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การเปลี่ยนแปลง ของนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง ภายหลังที่ได้รับการสอนโดยใช้ชุดการเรียนรู้ เรื่อง การเปลี่ยนแปลง ตามรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบซิปปา (CIPPA Model) สูงกว่าก่อนได้รับการสอนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
 4. ความพึงพอใจของนักเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดการเรียนรู้ เรื่อง การเปลี่ยนแปลง ตามรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบซิปปา (CIPPA Model) พบว่า ในภาพรวมมีระดับความความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด

ดาวน์โหลดบทคัดย่อ

การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้วยชุดการเรียนรู้ เรื่อง การเปลี่ยนแปลง โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบซิปปา (CIPPA Model)

Comments

comments

- Advertisement -