รายงานการประเมินโครงการพัฒนาศักยภาพครู สู่คุณภาพผู้เรียน โรงเรียนห้วยยอด(กลึงวิทยาคาร) ปีการศึกษา 2564

0
370

ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการพัฒนาศักยภาพครู สู่คุณภาพผู้เรียน โรงเรียนห้วยยอด (กลึงวิทยาคาร) ปีการศึกษา
ผู้รายงาน นางสาวสุมนา หนูเอียด
ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการโรงเรียนโรงเรียนห้วยยอด (กลึงวิทยาคาร) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2
ปีที่รายงาน ปีการศึกษา
บทสรุป
รายงานการประเมินโครงการพัฒนาศักยภาพครู สู่คุณภาพผู้เรียน โรงเรียนห้วยยอด (กลึงวิทยาคาร) ปีการศึกษา ๒๕๖๔ มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินด้านสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการดำเนินงานและด้านผลผลิตของโครงการ โดยประยุกต์รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) ของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam. 1983 : 261) มาใช้ในการประเมิน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินประกอบด้วย ประชากรนักเรียนจำนวน 484 คน จำนวน 35 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 480 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน ได้มาโดยการกำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน เป็นแบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) มี 5 ระดับ พร้อมคำถามปลายเปิด จำนวน 6 ฉบับ แบบบันทึกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในระดับ
สถานศึกษาปีการศึกษา 1 ฉบับและแบบบันทึกผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) 1 ฉบับ เครื่องมือทุกฉบับมีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ ได้ค่าความเชื่อมั่นอยู่ระหว่าง 0.892 – 0.997สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
(Standard Deviation)

ผลการประเมินพบว่า

ป ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด เมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่ม พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งสองกลุ่ม โดยภาพรวมทุกกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากและมากที่สุด เมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามพบว่า กลุ่มครู มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด (x̄= 4.52, S.D. = 0.35) รองลงมา กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อยู่ในระดับมาก (x̄= 4.41, S.D. = 0.41) ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการพัฒนาศักยภาพครู สู่คุณภาพผู้เรียนโรงเรียนห้วยยอด (กลึงวิทยาคาร) ปีการศึกษา ตามความคิดเห็นของครู โดยรวมพบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (x̄= 4.40, S.D. =0.41 ) ทุกประเด็นตัวชี้วัด มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมินผลการประเมินด้านกระบวนการดำเนินงานของโครงการพัฒนาศักยภาพครู สู่คุณภาพผู้เรียน โรงเรียนห้วยยอด (กลึงวิทยาคาร) ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้ปกครอง โดยภาพรวมพบว่า ทั้งสามกลุ่มที่ มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่ม พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งสามกลุ่ม โดยภาพรวมทุกกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากและมากที่สุด เมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามพบว่า กลุ่มครู มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด (x̄= 4.54, S.D. = 0.40) รองลงมา คือ กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อยู่ในระดับมาก (x̄= 4.46, S.D. = 0.45) ส่วนความคิดเห็นของ ผู้ปกครองมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด(x̄= 4.28 , S.D. = 0.54) อยู่ในระดับมากเช่นกันผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการพัฒนาศักยภาพครู สู่คุณภาพผู้เรียน โรงเรียนห้วยยอด (กลึงวิทยาคาร) ปีการศึกษา 2564 จำแนกเป็น
4.1 ผลการประเมินด้านคุณภาพการพัฒนาศักยภาพครู ตามโครงการพัฒนาศักยภาพครูสู่คุณภาพผู้เรียน โรงเรียนห้วยยอด (กลึงวิทยาคาร) ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครอง โดยภาพรวมพบว่า ทั้งสามกลุ่มที่ มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้ คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมินเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่ม พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งสามกลุ่ม โดยภาพรวมทุกกลุ่มผู้ตอบ แบบสอบถาม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากและมากที่สุด เมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามพบว่า กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด (x̄= 4.54, S.D. = 0.44) รองลงมา คือ
กลุ่มครู (x̄= 4.31, S.D. = 0.37) อยู่ในระดับมาก ส่วนกลุ่ม ผู้ปกครองมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด (x̄= 4.21 , S.D. = 0.54)อยู่ในระดับมากเช่นกัน 4.2ผลการประเมินด้านประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครู ตามโครงการพัฒนาศักยภาพครูสู่คุณภาพผู้เรียน โรงเรียนห้วยยอด (กลึงวิทยาคาร) ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของนักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครอง โดยภาพรวมพบว่า ทั้งสามกลุ่มที่ มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
เมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่ม พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งสามกลุ่ม โดยภาพรวมทุกกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากและมากที่สุด เมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามพบว่ากลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด (x̄= 4.54, S.D. = 0.44) รองลงมาคือกลุ่มผู้ปกครอง (
x̄= 4.25, S.D. = 0.51) อยู่ในระดับมาก ส่วนกลุ่ม นักเรียนมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด (x̄= 4.14 ,S.D. = 0.54) อยู่ในระดับมากเช่นกัน 4.3 คุณภาพผู้เรียนโรงเรียนห้วยยอด (กลึงวิทยาคาร) จำแนกเป็น 4.3.1 คะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษาโรงเรียนห้วยยอด(กลึงวิทยาคาร) ปีการศึกษา 2564 โดยรวมมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 70.52 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมินเมื่อพิจารณาจำแนกตามระดับชั้นพบว่า ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีค่าเฉลี่ย สูงสุด เท่ากับ 76.97 รองลงมาได้แก่
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 76.75 ส่วนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด เท่ากับ 61.94 4.3.2 ผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2564 พบว่า โดยภาพรวมชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าระดับประเทศ โดยรวมมีค่าเฉลี่ย ร้อยละ 43.71 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยรวมมีค่าเฉลี่ย ร้อยละ 29.76 4.4 ผลการประเมินความพึงพอใจต่อการดำเนินโครงการพัฒนาศักยภาพครู สู่คุณภาพผู้เรียน
โรงเรียนห้วยยอด (กลึงวิทยาคาร) ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของครู คณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครอง โดยภาพรวมพบว่า ทั้งสี่กลุ่มที่ มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมินเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่ม พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งสี่กลุ่ม โดยภาพรวมทุกกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากและมากที่สุด เมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามพบว่ากลุ่มครู มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด (x̄= 4.54, S.D. = 0.40) รองลงมา คือ กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (x̄= 4.53 , S.D. = 0.48) อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนกลุ่มนักเรียนมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด (x̄= 4.20, S.D. = 0.52) อยู่ในระดับมากข้อเสนอแนะข้อเสนอแนะเพื่อนำผลการประเมินไปใช้ 1.1 โรงเรียนควรส่งเสริมให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีความเข้าใจและตระหนักถึงความต้องการจำเป็นในการพัฒนาศักยภาพครูร่วมกันวิเคราะห์สภาพปัจจุบัน ปัญหา กำหนดเป้าหมายและกรอบกิจกรรมการพัฒนาครูที่สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นของโรงเรียนและสอดคล้องกับความต้องการพัฒนาตนเองของครู 1.2 การดำเนินการพัฒนาศักยภาพครู สู่คุณภาพผู้เรียน ผู้บริหารต้องดำเนินการให้สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นของโรงเรียนและสอดคล้องกับความต้องการพัฒนาตนเองของครูวิธีการพัฒนาศักยภาพครูจึงต้องมีความหลากหลาย ด้วยกิจกรรมพัฒนา 3 ลักษณะดังนี้

1) กิจกรรมการพัฒนาตนเองโดยครูเป็นหลัก และมีโรงเรียนสนับสนุน ส่งเสริม

2) กิจกรรมการพัฒนาตนเองโดยโรงเรียนเป็นเจ้าภาพหลัก และ

3) กิจกรรมการพัฒนาตนเองโดยหน่วยงานต้นสังกัด หรือหน่วยงานอื่นจัดขึ้น
1.3 ควรมีการยกย่อง เชิดชูเกียรติการเสริมสร้างโอกาสแสดงศักยภาพและความสามารถ การประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อพิจารณาความดี ความชอบด้วยความยุติธรรม ส่งผลให้ครูมีขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน มีความสุขและสนุกกับการจัดการเรียนรู้ มุ่งสู่คุณภาพผู้เรียน
1.4 ควรมีการนิเทศ กำกับติดตามอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะอย่างยิ่งการทบทวนหลังปฏิบัติงาน ( AAR :After Action Review ) ร่วมกันสะท้อนและทบทวนกระบวนการต่างๆ นำบทเรียนที่ได้จากความสำเร็จและปัญหาที่เกิดขึ้น มาพัฒนากระบวนการดำเนินงานพัฒนาศักยภาพครูให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น

ข้อเสนอแนะเพื่อการประเมิน และวิจัยครั้งต่อไป
2.1 ควรศึกษาการประเมินโครงการพัฒนาศักยภาพครู สู่คุณภาพผู้เรียน ในเชิงคุณภาพ เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึกอันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
2.2 ควรนำรูปแบบหรือวิธีการประเมินอื่น ๆ นอกเหนือจากการประเมินโดยใช้ซิป โมเดล (CIPP Model) มาประเมินโครงการพัฒนาศักยภาพครู สู่คุณภาพผู้เรียน เพื่อการยืนยันผล
2.3 ควรประเมินผลกระทบของโครงการในระยะยาว เช่น ผลการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้รับจากการดำเนินโครงการพัฒนาศักยภาพครู สู่คุณภาพผู้เรียน
2.4 ควรศึกษาผลกระทบที่มีต่อการดำเนินงานโครงการพัฒนาศักยภาพครู สู่คุณภาพผู้เรียน ตามบริบทของโรงเรียนที่แตกต่างกัน เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนการพัฒนาการดำเนินงานตามโครงการต่อไป

ดาวน์โหลดบทคัดย่อ

รายงานการประเมินโครงการพัฒนาศักยภาพครู สู่คุณภาพผู้เรียน โรงเรียนห้วยยอด(กลึงวิทยาคาร) ปีการศึกษา 2564

Comments

comments

- Advertisement -