การพัฒนาตัวบ่งชี้คุณธรรมอัตลักษณ์ผ่านกิจกรรมต้นกล้าแห่งความดี เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมเชิงคุณธรรมของนักเรียนโรงเรียนวัดเฉลิมพระเกียรติ (พิบูลบำรุง) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1

0
474

หัวข้อวิจัย การพัฒนาตัวบ่งชี้คุณธรรมอัตลักษณ์ผ่านกิจกรรมต้นกล้าแห่งความดี เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมเชิงคุณธรรมของนักเรียนโรงเรียนวัดเฉลิมพระเกียรติ (พิบูลบำรุง) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1
จัดทำโดย คมคาย น้อยสิทธิ์
ปีการศึกษา

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาตัวบ่งชี้คุณธรรมอัตลักษณ์นักเรียนร่วมกับแนวทางการจัดกิจกรรมต้นกล้าแห่งความดีของโรงเรียนวัดเฉลิมพระเกียรติ (พิบูลบำรุง) 2) ศึกษาพฤติกรรมเชิงคุณธรรมของนักเรียนที่เป็นผลจากการจัดกิจกรรมต้นกล้าแห่งความดีของโรงเรียนวัดเฉลิมพระเกียรติ (พิบูลบำรุง) 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ครู และผู้ปกครองที่มีต่อที่มีต่อผลการพัฒนาตัวบ่งชี้คุณธรรมอัตลักษณ์นักเรียนด้วยกิจกรรมต้นกล้าแห่งความดีในการส่งเสริมคุณธรรมอัตลักษณ์นักเรียนของโรงเรียนวัดเฉลิมพระเกียรติ (พิบูลบำรุง) 
  กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนของโรงเรียนวัดเฉลิมพระเกียรติ (พิบูลบำรุง) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1 ในระดับชั้นอนุบาลถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในปีการศึกษา 2564  จำนวน 776 คน ครูและบุคลากร จำนวน 44 คน ผู้ปกครอง จำนวน 260 คน  
            ผลการวิจัยพบว่า 1) ตัวบ่งชี้คุณธรรมอัตลักษณ์นักเรียนที่พัฒนาขึ้นของโรงเรียนวัดเฉลิมพระเกียรติ (พิบูลบำรุง) ประกอบด้วย 7 ด้าน 21 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ 1. ด้านความความรับผิดชอบตั้งใจเรียน/ใฝ่เรียนรู้ การปฏิบัติตามข้อตกลงห้องเรียน การทำงานเป็นทีม 2. ด้านความซื่อสัตย์สุจริต ไม่โกหก/ให้ข้อมูลของตนเองตามความเป็นจริงและถูกต้อง ไม่ลักขโมยของผู้อื่น เก็บของมีค่าได้แล้วส่งคืนครู 3. ด้านความกตัญญู แสดงความเคารพต่อผู้มีพระคุณ เรียนรู้ประวัติบุคคลสำคัญของท้องถิ่น อนุรักษ์ความเป็นไทย 4. ด้านความพอเพียง การเรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า การประหยัดและอดออม 5. ด้านอุดมการณ์คุณธรรม การปฏิบัติกิจกรรมคุณธรรมของโรงเรียน การจัดทำโครงงานคุณธรรมเพื่อแก้ปัญหาพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านคุณธรรม 6. ด้านความมีวินัย การปฏิบัติตามระเบียบ/ข้อตกลงของโรงเรียน การตรงต่อเวลา การอดทน มุ่งมั่นทำงาน 7. ด้านความมีจิตอาสา การเข้าร่วมกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ของโรงเรียนและชุมชน การแบ่งปันสิ่งของให้กับผู้อื่น การเสียสละเพื่อส่วนรวม และการสร้างกิจกรรมต้นกล้าแห่งความดีตามตัวบ่งชี้คุณธรรมอัตลักษณ์เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมเชิงคุณธรรมนักเรียน จำนวน 10 ต้นกล้า 2) ผลการศึกษาพฤติกรรมเชิงคุณธรรมของนักเรียน โดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน พบว่า ตัวแปรคุณธรรมอัตลักษณ์ (MOR) มีความตรงเชิงโครงสร้าง (Construct Validity) โดยพิจารณาได้จากค่าไค-สแควร์ ที่แตกต่างจากศูนย์อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (Chi-Square = 8.881, df = 8, p = .352) และผลการประเมินพฤติกรรมเชิงคุณธรรมของนักเรียน พบว่า ระดับคุณธรรมอัตลักษณ์ของนักเรียนที่เป็นผลจากการจัดกิจกรรม   ต้นกล้าแห่งความดี ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าตัวบ่งชี้คุณธรรม อัตลักษณ์ด้านความมีวินัย อยู่ระดับมากที่สุด ส่วนด้านความซื่อสัตย์สุจริต อุดมการณ์คุณธรรม ความกตัญญู ความมีจิตอาสา ความพอเพียง และด้านความรับผิดชอบ อยู่ในระดับมาก ตามลำดับ     3) ผลความพึงพอใจของนักเรียน ครู และผู้ปกครองที่มีต่อผลการพัฒนาตัวบ่งชี้คุณธรรมอัตลักษณ์ด้วยกิจกรรมต้นกล้าแห่งความดีที่ส่งเสริมคุณธรรมอัตลักษณ์ พบว่า ในภาพรวมนักเรียน ครู และผู้ปกครองมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีความพึงพอใจต่อคุณธรรมอัตลักษณ์ ด้านความซื่อสัตย์สุจริตมากที่สุดเหมือนกัน ด้านตัวบ่งชี้ นักเรียนและผู้ปกครอง มีความพึงพอใจ ต่อตัวบ่งชี้ไม่ลักขโมยของผู้อื่นมากที่สุด ส่วนครูมีความพึงพอใจต่อตัวบ่งชี้ เก็บของมีค่าได้แล้วส่งคืนครูมากที่สุด

ดาวน์โหลดบทคัดย่อ

การพัฒนาตัวบ่งชี้คุณธรรมอัตลักษณ์ผ่านกิจกรรมต้นกล้าแห่งความดี เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมเชิงคุณธรรมของนักเรียนโรงเรียนวัดเฉลิมพระเกียรติ (พิบูลบำรุง) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1

Comments

comments

- Advertisement -