การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยบทเรียนออนไลน์เรื่อง คำภาษาต่างประเทศที่ใช้ในภาษาไทย เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ รายวิชาภาษาไทย ท23101 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

0
1062

ชื่อเรื่อง          การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยบทเรียนออนไลน์เรื่อง คำภาษาต่างประเทศที่ใช้ในภาษาไทย เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ รายวิชาภาษาไทย ท23101 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

ผู้             นางวิชชุตา  นพเก้า

ตำแหน่ง         วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ

หน่วยงาน        โรงเรียนพิบูลมังสาหาร องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี

ปีที่           2563

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยบทเรียนออนไลน์ เรื่อง คำภาษาต่างประเทศที่ใช้ในภาษาไทย เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ รายวิชาภาษาไทย ท23101 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (2) สร้างและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยบทเรียนออนไลน์เรื่อง คำภาษาต่างประเทศที่ใช้ในภาษาไทย เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ รายวิชาภาษาไทย ท23101 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (3) ทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยบทเรียนออนไลน์เรื่อง คำภาษาต่างประเทศที่ใช้ในภาษาไทยเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ รายวิชาภาษาไทย ท23101 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (4) สอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยบทเรียนออนไลน์เรื่อง คำภาษาต่างประเทศที่ใช้ในภาษาไทย เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ รายวิชาภาษาไทย ท23101 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างที่ทดลองใช้รูปแบบ ได้แก่  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/11 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนพิบูลมังสาหาร จำนวน 39 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) แบบประเมินความต้องการพื้นฐานเพื่อการพัฒนารูปแบบจัดการเรียนรู้ (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดวิเคราะห์ (3) คู่มือการใช้รูปแบบและแผนการจัดการเรียนรู้ (4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล และทดสอบสมมติฐานประกอบด้วย ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (x) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าที (t-test dependent Samples)

ผลการวิจัยพบว่า

1. นักเรียนมีความสนใจในการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยบทเรียนออนไลน์เรื่อง คำภาษาต่างประเทศที่ใช้ในภาษาไทย เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ รายวิชาภาษาไทย ท23101 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เนื่องจากนักเรียนต้องการศึกษาด้วยการมีส่วนร่วม ผู้เชี่ยวชาญการสอนวิชาภาษาไทยเห็นด้วยกับรูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยบทเรียนออนไลน์เรื่อง คำภาษาต่างประเทศที่ใช้ในภาษาไทย เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ รายวิชาภาษาไทย ท23101 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่จะนำมาพัฒนาศักยภาพในการจัดการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพเพื่อแก้ปัญหานักเรียนไม่สนใจในการเรียน การคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ

2. ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยบทเรียนออนไลน์เรื่อง คำภาษาต่างประเทศที่ใช้ในภาษาไทย เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ รายวิชาภาษาไทย ท23101 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ได้รูปแบบกิจกรรมที่พัฒนาขึ้นมีชื่อเรียกว่า CINSE Model มี 6 องค์ประกอบคือ (1) หลักการ  (2) วัตถุประสงค์ (3) เนื้อหา (4) กระบวนการจัดการเรียนรู้ (5) การวัดและประเมินผล และ (6) เงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้ ได้แก่ ระบบสังคม หลักการตอบสนอง และสิ่งสนับสนุน กระบวนการจัดการเรียนรู้ประกอบด้วย 5 ขั้น คือ (1) ขั้นเชื่อมโยงประสบการณ์ (Connecting experience) (2) ขั้นแสวงหาสารสนเทศ (Information researching) (3) ขั้นสร้างองค์ความรู้ (Knowledge Establishing) (4) ขั้นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Sharing  Learning Information) (5) ขั้นประเมินผลการเรียนรู้ (Learning evaluation) มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.69/83.91

3. ผลการประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยบทเรียนออนไลน์เรื่อง คำภาษาต่างประเทศที่ใช้ในภาษาไทย เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ รายวิชาภาษาไทย ท23101 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า

3.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดวิเคราะห์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01                   

3.2 ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยบทเรียนออนไลน์เรื่อง คำภาษาต่างประเทศที่ใช้ในภาษาไทย เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ รายวิชาภาษาไทย ท23101 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

ดาวน์โหลดบทคัดย่อ

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยบทเรียนออนไลน์เรื่อง คำภาษาต่างประเทศที่ใช้ในภาษาไทย เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ รายวิชาภาษาไทย ท23101 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

Comments

comments

- Advertisement -