การพัฒนารูปแบบการนิเทศ APDRE Model เพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดของนักเรียนสำหรับครูในสังกัดเทศบาลเมืองระนอง

0
1044
เพิ่มเพื่อน

ชื่อเรื่อง                :    การพัฒนารูปแบบการนิเทศ APDRE Model เพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดของนักเรียนสำหรับครูในสังกัดเทศบาลเมืองระนอง

ผู้รายงาน               :    นางจตุพร  สุทธิรัตน์ ตำแหน่ง   วิทยฐานะศึกษานิเทศก์

ปีที่ทำการวิจัย         :    พ.ศ. 2562 -2563 

บทคัดย่อ

                 การพัฒนารูปแบบการนิเทศ APDRE Model เพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดของนักเรียนสำหรับครูในสังกัดเทศบาลเมืองระนอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการ 2) พัฒนารูปแบบการนิเทศ 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการนิเทศ และ 4) ประเมินรูปแบบการนิเทศ การดำเนินการวิจัยออกเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 เป็นการศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการ ด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลจาก 4 ส่วน คือ 1) ผลการประเมินความสามารถในการคิดของนักเรียน 2) การสนทนากลุ่มผู้บริหารครู และคณะกรรมการสถานศึกษาเพื่อวิเคราะห์ปัญหา และเสนอแนวทางในการพัฒนาความสามารถในการคิดของนักเรียน  3) การสอบถามสภาพปัจจุบันและความต้องการในการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดของครู และ 4) การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนารูปแบบการนิเทศและการจัด การเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดจากนั้นวิเคราะห์ผลด้วยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา การดำเนินการในระยะ ที่ 2 เป็นการพัฒนารูปแบบการนิเทศและคู่มือการใช้ จากนั้นนำไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความถูกต้องและความเหมาะสม และวิเคราะห์ผลการประเมินด้วยค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การดำเนินงานในระยะที่ 3 เป็นการทดลองใช้และศึกษาผลการใช้รูปแบบการนิเทศ กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูผู้สอน ในระดับประถมศึกษาปีที่ 1 – ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลเทศบาลบ้านเขานิเวศน์ ปี 2562 จำนวน 21 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 5 ชุด คือ 1) รูปแบบการนิเทศที่พัฒนาขึ้น 2) คู่มือการใช้ 3) แบบทดสอบวัดความรู้เรื่องการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิด 4) แบบนิเทศการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิด และ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจของครูต่อรูปแบบการนิเทศ การเก็บรวบรวมข้อมูลเริ่มจาก ขั้นตอนที่ 1 จัดอบรมเรื่องการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิด และทดสอบวัดความรู้ก่อนและหลังการอบรม  ขั้นตอนที่ 2 การวางแผนการนิเทศการจัดการเรียนรู้ ขั้นตอนที่ 3 การปฏิบัติการนิเทศการจัดการเรียนรู้ โดยครูแต่ละคนจะได้รับการนิเทศทั้งหมด 3 ครั้งและขั้นตอนที่ 4 การประเมินผลการนิเทศการจัด การเรียนรู้ วิเคราะห์คะแนนจากแบบทดสอบ แบบนิเทศ แบบสอบถามความพึงพอใจต่อรูปแบบการนิเทศและผลการประเมินความสามารถในการคิด ของนักเรียน ด้วยค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความรู้ ผลการจัดการเรียนรู้ ความพึงพอใจ และความสามารถในการคิดของนักเรียนด้วยสถิติทดสอบ t การดำเนินการในระยะที่ 4 เป็นการยืนยันผลการใช้และการรับรองความถูกต้องและเหมาะสมของรูปแบบการนิเทศ ด้วยการสนทนากลุ่มของกลุ่มตัวอย่างหลังทดลองใช้ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้       

                 1. ครูมีความต้องการที่จะจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิด และมีข้อเสนอแนะให้มีการเพิ่มพูน ความรู้ในเรื่องของวิธีการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการคิดและการนิเทศติดตามอย่างต่อเนื่อง

                 2. การพัฒนารูปแบบการนิเทศ APDRE Model เพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดของนักเรียนสำหรับครูในสังกัดเทศบาลเมืองระนอง ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ คือ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการนิเทศการจัดการเรียนรู้ ซึ่งประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจก่อนการนิเทศการจัดการเรียนรู้ (Awareness : A)  ขั้นตอน ที่ 2 การวางแผนการนิเทศการจัดการเรียนรู้ (Planning : P)  ขั้นตอนที่ 3 การปฏิบัติการนิเทศการจัดการเรียนรู้ (Doing : D)  ขั้นตอนที่ 4  การเสริมสร้างขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน (Reinforcing : R) และขั้นตอนที่ 5 การประเมินผลการนิเทศการจัดการเรียนรู้ (Evaluating : E)

                 3. ผลการใช้รูปแบบการนิเทศ APDRE Model เพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดของนักเรียนสำหรับครูในสังกัดเทศบาลเมืองระนอง พบว่า

                    3.1 ครูมีความรู้เรื่องการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิด หลังทดลองใช้รูปแบบการนิเทศ APDRE Model สูงกว่าก่อนทดลองใช้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

                    3.2 ครูมีพัฒนาการของการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาความสามารถในการคิดดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีผลการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดหลังทดลองใช้รูปแบบการนิเทศ APDRE Model อยู่ในระดับดีขึ้นไป อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

                    3.3 ครูมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการนิเทศ APDRE Model ที่พัฒนาขึ้นอยู่ในระดับดีขึ้นไป อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

                    3.4 นักเรียนมีความสามารถในการคิดหลังทดลองใช้รูปแบบการนิเทศ  APDRE Model สูงกว่าก่อนทดลองใช้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

                 4. ผลการประเมินรูปแบบการนิเทศ พบว่า รูปแบบการนิเทศ APDRE Model เพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดของนักเรียนสำหรับครูในสังกัดเทศบาลเมืองระนองมีความถูกต้องและเหมาะสมเป็นอย่างดี    

ดาวน์โหลดบทคัดย่อ

การพัฒนารูปแบบการนิเทศ APDRE Model เพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดของนักเรียนสำหรับครูในสังกัดเทศบาลเมืองระนอง

Comments

comments

- Advertisement -