ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข โรงเรียนบ้านหนองไผ่
ผู้ศึกษา นางวงศิริ หวังเหนี่ยวกลาง
สังกัด โรงเรียนบ้านหนองไผ่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 5
ปีที่ประเมิน 2563
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินสภาพการดำเนินงานโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข ของโรงเรียนบ้านหนองไผ่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 5 โดยใช้รูปแบบการประเมินผลโครงการแบบซิป (CIPP Model) ตามแนวคิดของ สตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam) ซึ่งมุ่งประเมิน 4 ด้าน ในองค์ประกอบ 4 ด้าน คือ (1) การประเมินบริบท (Context Evaluation) ของโครงการ (2) การประเมินปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation) (3) การประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) (4) การประเมินผลผลิต (Product Evaluation) กลุ่มเป้าหมาย 31 คน ได้แก่ ผู้บริหาร ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และนักเรียน โดยผู้ศึกษาได้จัดลำดับการนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามทั้ง 2 ฉบับการวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการหาค่าเฉลี่ย (ป) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และร้อยละ
ผลการศึกษาพบว่า
1. ผลการประเมินสภาพแวดล้อมของโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข โดยรวมอยู่ในระดับ มาก (x=4.10, S.D.=0.73)
2. ผลการประเมินปัจจัยนำเข้าที่ใช้ในการดำเนินโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข โดยรวมอยู่ในระดับ มาก (x=4.28, S.D.=0.83)
3. ผลการประเมินกระบวนการในการดำเนินโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข โดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด (x=4.55, S.D.=0.87)
4. ผลการประเมินผลผลิตของโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข ซึ่งผลการประเมินประเมินความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข ของผู้บริหาร ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และนักเรียนปีการศึกษา 2563 พบว่า โดยรวมผลการประเมินความรู้ความเข้าใจผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำที่กำหนด จำนวน 31 คน
คิดเป็นร้อยละ 96.77 ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด และผลการประเมินคุณลักษณะที่พึงประสงค์ มีภูมิคุ้มกันและจิตสำนึกที่จะไม่ไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดและอบายมุข มีคุณธรรม จริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข โดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด (x=4.60, S.D.=0.78)
ดาวน์โหลดบทคัดย่อ
รายงานการประเมินโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข