บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การประเมินครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินของโครงการพัฒนากระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อส่งเสริมทักษะสากลของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนเทศบาล ๓ วัดอัมพวันเจติยาราม 4 ด้านตามรูปแบบ CIPPIEST ได้แก่ 1) ด้านบริบท 2) ด้านปัจจัยนำเข้า 3) ด้านกระบวนการ 4) ด้านผลผลิต โดยพิจารณารวมอีก 4 ด้าน คือ 4.1) ด้านผลกระทบ 4.2) ด้านประสิทธิผล 4.3) ด้านความยั่งยืน และ 4.4) ด้านการถ่ายโยงความรู้ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในประเมิน เป็นผู้บริหาร จำนวน 1 คน ครู จำนวน 24 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 153 คน และผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 153 คน รวมจำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งสิ้น 338 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการเป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Five Rating Scales) โดยประเมินความเหมาะสมมากที่สุดถึงน้อยที่สุด จำนวน 3 ฉบับ ฉบับที่ 1 สำหรับผู้บริหาร ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สอบถามความคิดเห็นที่มีต่อประเด็นคำถามเกี่ยวกับด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า และด้านกระบวนการ ฉบับที่ 2 สำหรับครู นักเรียน และผู้ปกครอง สอบถามความคิดเห็นที่มีต่อประเด็นคำถามเกี่ยวกับด้านผลผลิต คือ ทักษะสากลของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 และฉบับที่ 3 สำหรับผู้บริหาร ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครอง สอบถามความคิดเห็นที่มีต่อประเด็นคำถามเกี่ยวกับด้านผลผลิตที่พิจารณารวมถึง ผลกระทบ ประสิทธิผล ความยั่งยืน และการถ่ายโยงการเรียนรู้ ผู้รายงานเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการประเมินพบว่า
- ด้านบริบท (Context) พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า หลักการและเหตุผลของโครงการสอดคล้องกับนโยบายของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมา คือ แนวทางการดำเนินโครงการมีความเหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพปัญหาของนักเรียนและการจัดกระบวนการเรียนการสอนของครู และข้อที่มีค่าเฉลี่ยลำดับสุดท้ายคือ การประเมินผลโครงการและตัวชี้วัดความสำเร็จ มีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการ
- ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า มีการตั้งคณะกรรมการดำเนินโครงการ และมอบหมายงานเหมาะสมกับความรู้ ความสามารถของบุคลากร มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือ มีการฝึกอบรมให้ความรู้ในบทบาทหน้าที่และแนวปฏิบัติ ในการดำเนินโครงการอย่างดี และข้อที่มีค่าเฉลี่ยลำดับสุดท้าย คือ มีการประสานงานกับผู้ปกครองและชุมชน ในด้านแหล่งเรียนรู้ภายนอก และภูมิปัญญาต่างๆ เพื่อมีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการ
- ด้านกระบวนการ (Process) พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ของครูผู้สอนเป็นไปตามแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ออกแบบไว้ รองลงมามีค่าเฉลี่ยเท่ากันคือ การจัดฝึกอบรมให้ความรู้เรื่องกระบวนการจัดกิจรรมการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) และทักษะสากลของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 และการออกแบบแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้และทุกระดับชั้น ข้อที่มีค่าเฉลี่ยลำดับสุดท้าย คือ มีงบประมาณในการดำเนินการ ที่เพียงพอ
- ด้านผลผลิต (Product) พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม (Learning and Innovation Skills-8Cs) มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือ ทักษะการเรียนรู้และภาวะผู้นำ (Learning and Leadership-2Ls) และข้อที่มีค่าเฉลี่ยลำดับสุดท้ายคือ ทักษะในสาระวิชาหลัก (Core Subjects–3Rs)
4.1 ด้านผลกระทบ (Impact) พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า นักเรียนมีสมรรถนะที่สำคัญตามหลักสูตรสูงขึ้น มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมา คือ ครูมีสื่อ นวัตกรรม และเครื่องมือที่เกี่ยวกับการจัดกระบวนการเรียนรู้อย่างหลากหลายและสร้างสรรค์ และข้อที่มีค่าเฉลี่ยลำดับสุดท้าย คือ นักเรียนมีผลการประเมินระดับชาติ RT NT และ O-net สูงขึ้น
4.2 ด้านประสิทธิผล (Effective) พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณา รายข้อ พบว่า ครูมีแผนการจัดกิจกรรม การเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และทุกระดับชั้นที่มีคุณภาพ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมา คือ โรงเรียนมีนวัตกรรมที่เกิดจากการจัดกระบวนการเรียนการสอนของครูและนักเรียน และข้อที่มีค่าเฉลี่ยลำดับสุดท้าย คือ ผู้ปกครอง มีความพึงพอใจต่อกระบวนการจัดการเรียนรู้ของครู และผู้ปกครองมีความพึงพอใจต่อพฤติกรรมการเรียนรู้ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และทักษะสากลของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียน มีค่าเฉลี่ยเท่ากัน
4.3 ด้านความยั่งยืน (Sustainability) พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อ พิจารณารายข้อ พบว่า นักเรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครู รองลงมา คือ ครูผู้สอนสามารถสร้างสรรค์สื่อ และนวัตกรรม เพื่อจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) อย่างมีประสิทธิภาพ และข้อที่มีค่าเฉลี่ยลำดับสุดท้าย คือ ครูผู้สอนสามารถนำความรู้ และแนวคิดจากกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) มาพัฒนาเป็นรูปแบบการจัดการเรียนการสอนใหม่ ที่สอดคล้องกับกลุ่มสาระการเรียนรู้ และระดับชั้นได้อย่างหลากหลาย
4.4 ด้านการถ่ายโยงการเรียนรู้ (Transportability) พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า โรงเรียน เป็นสถานที่ศึกษาดูงานการจัดกระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ให้กับโรงเรียนทั้งในและนอกสังกัด รองลงมาคือ นักเรียน มีทักษะสากลของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ในการเข้าร่วมกิจกรรมของโรงเรียนและหน่วยงานอื่น และข้อที่มีค่าเฉลี่ยลำดับสุดท้าย คือ ครูได้เป็นวิทยากรฝึกอบรมการจัดกระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ให้กับโรงเรียนทั้งในและนอกสังกัด
ดาวน์โหลดงานวิจัย