หัวข้อการศึกษา รายงานการพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านออกเขียนได้ ชุดคำมาตราตัวสะกดแสนสนุก โดยใช้วิธีการสอน SQ5R ร่วมกับเทคโนโลยีคิวอาร์โค้ด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
ผู้ศึกษา ศุภิสรา พุ่มเจริญ
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
ปีการศึกษา 2563
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะ การอ่านออกเขียนได้ ชุดคำมาตราตัวสะกดแสนสนุก โดยใช้วิธีการสอน SQ5R ร่วมกับเทคโนโลยี คิวอาร์โค้ด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลการพัฒนาทักษะการอ่านออกเขียนได้ ระหว่างก่อนและหลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านออกเขียนได้ ชุดคำมาตราตัวสะกดแสนสนุก โดยใช้วิธีการสอน SQ5R ร่วมกับเทคโนโลยีคิวอาร์โค้ด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 3) เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะการอ่านออกเขียนได้ ชุดคำมาตราตัวสะกดแสนสนุก โดยใช้วิธีการสอน SQ5R ร่วมกับเทคโนโลยีคิวอาร์โค้ด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะการอ่านออกเขียนได้ ชุดคำมาตราตัวสะกดแสนสนุก โดยใช้วิธีการสอน SQ5R ร่วมกับเทคโนโลยีคิวอาร์โค้ด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนเทศบาล 1 บ้านชะอำ (ชะอำวิทยาคาร) จำนวน 1 ห้องเรียนรวม 23 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบฝึกทักษะการอ่านออกเขียนได้ ชุดคำมาตราตัวสะกดแสนสนุก โดยใช้วิธีการสอน SQ5R ร่วมกับเทคโนโลยีคิวอาร์โค้ด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 9 เล่ม 2) แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านออกเขียนได้ ชุดคำมาตราตัวสะกดแสนสนุก โดยใช้วิธีการสอน SQ5R ร่วมกับเทคโนโลยีคิวอาร์โค้ด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 18 ชั่วโมง 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ ทักษะการอ่านออกเขียนได้ โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านออกเขียนได้ ชุดคำมาตราตัวสะกดแสนสนุก โดยใช้วิธีการสอน SQ5R ร่วมกับเทคโนโลยีคิวอาร์โค้ด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ชนิดเลือกตอบ 3 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะการอ่านออกเขียนได้ ชุดคำมาตราตัวสะกดแสนสนุก โดยใช้วิธีการสอน SQ5R ร่วมกับเทคโนโลยีคิวอาร์โค้ด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย จำนวน 10 ข้อ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยคำนวณหาค่าเฉลี่ย (x̄) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และการทดสอบค่าทีแบบกลุ่มตัวอย่างไม่อิสระและค่าดัชนีประสิทธิผล
ผลการศึกษาพบว่า
1. แบบฝึกทักษะการอ่านออกเขียนได้ ชุดคำมาตราตัวสะกดแสนสนุก โดยใช้วิธีการสอน SQ5R ร่วมกับเทคโนโลยีคิวอาร์โค้ด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีทั้งหมด 9 เล่ม มีประสิทธิภาพโดยรวมเท่ากับ 89.81/87.97 โดยสูงกว่าเกณฑ์ ค่าประสิทธิภาพที่กำหนดไว้ คือ 80/80
2. ผลการพัฒนาทักษะการอ่านออกเขียนได้ ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้ แบบฝึกทักษะการอ่านออกเขียนได้ ชุดคำมาตราตัวสะกดแสนสนุก โดยใช้วิธีการสอน SQ5R ร่วมกับเทคโนโลยีคิวอาร์โค้ด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 หลังเรียน สูงกว่าคะแนนก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
3. ค่าดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะการอ่านออกเขียนได้ ชุดคำมาตราตัวสะกดแสนสนุก โดยใช้วิธีการสอน SQ5R ร่วมกับเทคโนโลยีคิวอาร์โค้ด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีค่าเท่ากับ 0.81 หรือคิดเป็นร้อยละ 81.00
4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้ โดยแบบฝึกทักษะการอ่านออกเขียนได้ ชุดคำมาตราตัวสะกดแสนสนุก โดยใช้วิธีการสอน SQ5R ร่วมกับเทคโนโลยีคิวอาร์โค้ด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
ดาวน์โหลดบทคัดย่อ
การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านออกเขียนได้ ชุดคำมาตราตัวสะกดแสนสนุก โดยใช้วิธีการสอน SQ5R ร่วมกับเทคโนโลยีคิวอาร์โค้ด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
Comments
- Advertisement -