การประเมินโครงการโรงเรียนคาร์บอนต่ำ (ลดการใช้พลังงานไฟฟ้าที่โรงเรียน) ของโรงเรียนสีคิ้วหนองหญ้าขาว สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา

0
863

ชื่อเรื่อง การประเมินโครงการโรงเรียนคาร์บอนต่ำ (ลดการใช้พลังงานไฟฟ้าที่โรงเรียน) ของ
โรงเรียนสีคิ้วหนองหญ้าขาว สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา
ผู้รายงาน นางวิชุดา เนตรสูงเนิน
ปีที่รายงาน

  การประเมินโครงการโรงเรียนคาร์บอนต่ำ (ลดการใช้พลังงานไฟฟ้าที่โรงเรียน) ของโรงเรียนสีคิ้วหนองหญ้าขาว  สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินโครงการโรงเรียนคาร์บอนต่ำ (ลดการใช้พลังงานไฟฟ้าที่โรงเรียน) ของโรงเรียนสีคิ้วหนองหญ้าขาว  สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา ภายใต้กรอบการประเมินเชิงระบบตามรูปแบบ CIPPIEST Model โดยประเมินโครงการใน 8 ด้าน คือ ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต ด้านผลกระทบ ด้านประสิทธิผล ด้านความยั่งยืน และด้านการถ่ายโยงความรู้  กลุ่มเป้าหมายได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 โรงเรียนสีคิ้วหนองหญ้าขาว สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา ที่เข้าร่วมโครงการ โดยกลุ่มผู้ให้ข้อมูลได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูและบุคลากร นักเรียนและผู้ปกครองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 โรงเรียนสีคิ้วหนองหญ้าขาว ปีการศึกษา 2564  จำนวน 336 คน โดยการสอบถามความคิดเห็นกลุ่มผู้ให้ข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้รูปแบบการประเมินแบบ CIPPIEST Model เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม และประเด็นสนทนากลุ่ม ประเมินเชิงระบบและวิเคราะห์ประเมินพฤติกรรมนักเรียน และความพึงพอใจของนักเรียนภายหลังการดำเนินกิจกรรม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์เนื้อหา และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้สถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 

          ผลการประเมิน พบว่า

          การประเมินโครงการโรงเรียนคาร์บอนต่ำ (ลดการใช้พลังงานไฟฟ้าที่โรงเรียน) ของโรงเรียนสีคิ้วหนองหญ้าขาว สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา โดยใช้รูปแบบ CIPPIEST Model ทั้ง 8 ด้าน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งเมื่อเทียบเกณฑ์การประเมินถือว่า ผ่าน และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ผ่านตามเกณฑ์การประเมิน โดยมีระดับมากที่สุดทั้ง 8 ด้าน เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการถ่ายโยงความรู้ ด้านประสิทธิผล ด้านความยั่งยืน ด้านผลกระทบ ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต ด้านปัจจัยนำเข้า และลำดับน้อยที่สุดคือด้านบริบท  ดังผลการประเมินต่อไปนี้

1. ด้านบริบท โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งเมื่อเทียบเกณฑ์การประเมินถือว่าผ่าน และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ผ่านตามเกณฑ์การประเมิน โดยโครงการมีความเหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพปัญหาของโรงเรียนสถานการณ์ปัจจุบัน โครงการสอดคล้องกับแผนการศึกษาแห่งชาติ สามารถส่งเสริม สนับสนุนการสร้างจิตสำนึกอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม 
2. ด้านปัจจัยนำเข้า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งเมื่อเทียบเกณฑ์การประเมิน ถือว่า ผ่าน และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ผ่านตามเกณฑ์การประเมิน โดยโรงเรียนมีนโยบายในการพัฒนาจิตสำนึกเพื่ออนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม และโรงเรียนมีการประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจแก่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายให้เข้าใจหลักการและวิธีการดำเนินการตามโครงการโรงเรียนคาร์บอนต่ำ
3. ด้านกระบวนการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งเมื่อเทียบเกณฑ์การประเมินถือว่า ผ่าน และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ผ่านตามเกณฑ์การประเมิน โดยมีกิจกรรมการเลือกซื้อ เลือกใช้อุปกรณ์ ฉลากเบอร์ 5 และ SMART learning และกิจกรรม คิด คิด คิด พิชิต CO2 
 4. ด้านผลผลิต โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งเมื่อเทียบเกณฑ์การประเมินถือว่าผ่าน และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ผ่าน ตามเกณฑ์การประเมิน โดยนักเรียนมีทัศนคติการใช้ไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพรู้คุณค่า และนักเรียนมีพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าอย่างประหยัด
5. ด้านผลกระทบ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งเมื่อเทียบเกณฑ์การประเมิน

ถือว่า ผ่าน และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ผ่าน ตามเกณฑ์การประเมิน โดยโรงเรียนมีค่าใช้จ่ายค่าไฟฟ้าที่ลดลง และเกียรติบัตรที่ได้รับเป็นหลักประกันคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียน
6. ด้านประสิทธิผล โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งเมื่อเทียบเกณฑ์การประเมินถือว่า ผ่าน และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ผ่าน การเกณฑ์การประเมิน โดยนักเรียนนำความรู้ที่ได้จากกิจกรรมการเรียนรู้ด้านอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมกลับไปปฏิบัติที่บ้าน และครูพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยบูรณาการการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมเข้ากับสาระการเรียนรู้
7. ด้านความยั่งยืน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งเมื่อเทียบเกณฑ์การประเมินถือว่า ผ่าน และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ผ่าน ตามเกณฑ์การประเมิน โดยนักเรียนนำความรู้ที่ได้จากกิจกรรมการเรียนรู้ด้านอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ และโครงการส่งเสริมให้ทุกคนมีส่วนร่วมและเห็นคุณค่าในการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม
8. ด้านถ่ายโยงความรู้ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งเมื่อเทียบเกณฑ์การประเมินถือว่า ผ่าน และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ผ่าน ตามเกณฑ์การประเมิน โดยโครงการสามารถเป็นแบบอย่างขยายผลให้กับโรงเรียนอื่นได้ และนักเรียนนำความรู้การอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ไปถ่ายทอดให้ผู้อื่นได้
ข้อเสนอแนะ ควรจัดโครงการพัฒนาส่งเสริมให้ผู้ปกครองและชุมชนให้การสนับสนุนในการดำเนินโครงการ รู้จักการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ได้แก่ โครงการโรงเรียนคาร์บอนต่ำ
สู่ชุมชน

ดาวน์โหลดบทคัดย่อ

การประเมินโครงการโรงเรียนคาร์บอนต่ำ (ลดการใช้พลังงานไฟฟ้าที่โรงเรียน) ของโรงเรียนสีคิ้วหนองหญ้าขาว สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา

Comments

comments

- Advertisement -