การพัฒนารูปแบบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูผู้สอน โรงเรียนทวีธาภิเศก

0
579

ชื่อเรื่อง                การพัฒนารูปแบบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูผู้สอน โรงเรียนทวีธาภิเศก

ชื่อผู้วิจัย              นายประจวบ อินทรโชติ ผู้อำนวยการโรงเรียนทวีธาภิเศก

ปีที่ทำการวิจัย        ปี 2562 – 2563

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหารูปแบบและการใช้รูปแบบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครูผู้สอน โรงเรียนทวีธาภิเศก ปี 2562 2) สร้างและพัฒนารูปแบบชุมชนการเรียน รู้ทางวิชาชีพ ในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูผู้สอน โรงเรียนทวีธาภิเศก 3) ทดลองใช้รูปแบบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูผู้สอน โรงเรียนทวีธาภิเศก ที่พัฒนาขึ้น 4) ประเมินรูปแบบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูผู้สอน โรงเรียนทวีธาภิเศก ที่พัฒนา ขึ้น โดยในขั้นตอนที่ 1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรโรงเรียนทวีธาภิเศก ปีการศึกษา 2562 จำนวน 98 คน คือ 1) รองผู้อำนวยการโรงเรียน 3 คน ได้มาโดยการเลือกอย่างเจาะจง (Purposive Sampling) และ 2) ครูผู้สอน 95 คน ได้มาโดยใช้ตาราง Krejcie & Morgan กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง จากนั้นดำเนินการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ขั้นตอนที่ 2 กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 24 คน ได้มาโดยการเลือกอย่างเจาะจง (Purposive Sampling) ได้แก่ 1) ผู้ทรงคุณวุฒิ 3 คน ซึ่งเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถด้านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ และการจัดการเรียนรู้เชิงรุก 2) ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียน 3 คน หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ 8 คน รวม 12 คน และ 3) ผู้เชี่ยวชาญ 9 คน ซึ่งเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถ และประสบการณ์การบริหารสถานศึกษา ขั้นตอนที่ 3 กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 1,314 คน ได้แก่ 1) ครูผู้สอนโรงเรียนทวีธาภิเศก ปีการศึกษา 2563 จำนวน 95 คน ได้มาโดยใช้ตาราง Krejcie & Morgan กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง จากนั้นดำเนินการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) และ 2) นักเรียนโรงเรียนทวีธาภิเศก ปีการศึกษา 2563 จำนวน 1,219 คน ได้มาโดยใช้ตาราง Krejcie & Morgan กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างแยกตามระดับชั้นเรียน จากนั้นดำเนินการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) และขั้นตอนที่ 4 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรโรงเรียนทวีธาภิเศก ปีการศึกษา 2563 จำนวน 98 คน คือ 1) รองผู้อำนวยการโรงเรียน 3 คน ได้มาโดยการเลือกอย่างเจาะจง (Purposive Sampling) และ 2) ครูผู้สอน 95 คน ได้มาโดยใช้ตาราง Krejcie & Morgan กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง จากนั้นดำเนินการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling)  

          เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถามเพื่อการวิจัย แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม แบบตรวจสอบเพื่อประเมินความเหมาะสมและความถูกต้องของรูปแบบ และแบบสรุปผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมสำเร็จรูป และสถิติที่ใช้ คือ ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (x̄) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการวิจัยพบว่า

          1. สภาพปัญหารูปแบบและการใช้รูปแบบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครูผู้สอน ปี 2562 สรุปได้ดังนี้  

               1.1 องค์ประกอบรูปแบบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ของครูผู้สอน ปี 2562 รวม 7 องค์ประกอบ โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก

              1.2 สภาพปัญหาการดำเนินกิจกรรมตามองค์ประกอบของรูปแบบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ของครูผู้สอน ปี 2562 รวม 7 องค์ประกอบ พบว่า 1) ครูผู้สอนร้อยละ 70 มีปัญหาในการร่วมกันเสนอปัญหา 2) ครูผู้สอนร้อยละ 75 มีปัญหาในการร่วมกันหาแนวทางแก้ปัญหา 3) ครูผู้สอนร้อยละ 65 มีปัญหาในการร่วมกันออกแบบนวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหา 4) ครูผู้สอนร้อยละ 52 มีปัญหาในการนำนวัตกรรมสู่การปฏิบัติ และ 5) ครูผู้สอนร้อยละ 60 มีปัญหาในการสะท้อนผลที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติ   

          2. รูปแบบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูผู้สอน ที่พัฒนาขึ้น สรุปได้ดังนี้

              2.1 องค์ประกอบของรูปแบบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูผู้สอน ที่พัฒนาขึ้น รวม 6 องค์ประกอบ และมีกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน รวม 30 กิจกรรม ได้แก่ 1) การมีค่านิยมและบรรทัดฐานร่วมกัน 4 กิจกรรม 2) การกำหนดเป้าหมายร่วมกันเพื่อการเรียนรู้ของผู้เรียน 5 กิจกรรม 3) การร่วมมือรวมพลัง 6 กิจกรรม 4) การสร้างเครือข่าย 5 กิจกรรม 5) การชี้แนะหรือการให้คำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ 5 กิจกรรม และ 6) การสะท้อนผลการปฏิบัติ 5 กิจกรรม

              2.2 รูปแบบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูผู้สอน ที่พัฒนาขึ้น ผ่านการตรวจสอบเพื่อประเมินความเหมาะสมและความถูกต้องจากผู้เชี่ยวชาญ  

          3. ผลการทดลองใช้รูปแบบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูผู้สอน          ที่พัฒนาขึ้น ในปี 2563 สรุปได้ดังนี้

              3.1 ผลการดำเนินกิจกรรมตามองค์ประกอบของรูปแบบ โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก

              3.2 ครูผู้สอนมีความรู้ความสามารถ และทักษะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และโดยภาพรวมมีเจตคติที่ดีต่อการจัดการเรียนรู้เชิงรุก

              3.3 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการเพิ่มขึ้นเป็นไปตามค่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ และมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูผู้สอน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

          4. รูปแบบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูผู้สอน ที่พัฒนาขึ้น               โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด

คำสำคัญ  ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ, การจัดการเรียนรู้เชิงรุก, เจตคติ, ความพึงพอใจ

ดาวน์โหลดบทคัดย่อ

การพัฒนารูปแบบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูผู้สอน โรงเรียนทวีธาภิเศก

Comments

comments

- Advertisement -