การพัฒนารูปแบบการสอนวิชาภาษาอังกฤษแบบ E-learning ตามรูปแบบ POLPE Model เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

0
822

ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการสอนวิชาภาษาอังกฤษแบบ E-learning ตามรูปแบบ POLPE
Model เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
ผู้วิจัย นางจารุวรรณี แพร่ศรีสกุล ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ
สถานศึกษา โรงเรียนคลองขามวิทยาคาร อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์

การพัฒนารูปแบบการสอนวิชาภาษาอังกฤษแบบ E-learning ตามรูปแบบ POLPE Model เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยเป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (2) เพื่อพัฒนารูปแบบการสอนวิชาภาษาอังกฤษแบบ E-learning ตามรูปแบบ POLPE Model เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (3) เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนวิชาภาษาอังกฤษ แบบ E-learning ตามรูปแบบ POLPE Model เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (4) เพื่อประเมินรูปแบบการสอนวิชาภาษาอังกฤษแบบ E-learning ตามรูปแบบ POLPE Model เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่าง ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 โรงเรียนคลองขามวิทยาคาร อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 28 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 ซึ่งได้จากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) แบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษ (2) แบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับ การออกแบบและพัฒนารูปแบบการสอนวิชาภาษาอังกฤษ เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ (3) แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับความสมเหตุสมผลเชิงทฤษฎี และความเป็นไปได้ของรูปแบบ การสอนวิชาภาษาอังกฤษแบบ E-learning ตามรูปแบบ POLPE Model เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (4) แผนการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษแบบ E-learning ตามรูปแบบ POLPE Model จำนวน 12 แผน (5) แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการอ่านเพื่อความเข้าใจ ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ (6) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการสอนวิชาภาษาอังกฤษแบบ E-learning ตามรูปแบบ POLPE Model เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ จำนวน 21 ข้อ และ (7) แบบประเมินรูปแบบการสอนวิชาภาษาอังกฤษ แบบ E-learning ตามรูปแบบ POLPE Model เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ IOC E.I ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ ค่า t-test แบบกลุ่มไม่อิสระ และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการพรรณนา (Descriptive analysis)

ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  4   พบว่า สภาพปัจจุบันของการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษที่ยังไม่ประสบความสำเร็จ เพราะนักเรียนมีผลการเรียนอยู่ในเกณฑ์ต่ำ ปัญหาเกิดจากนักเรียนส่วนใหญ่ยังขาดทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ ส่วนครูขาดเทคนิควิธีสอนและยังยึดติดกับรูปแบบการสอนที่เน้นครูเป็นศูนย์กลาง และมีความต้องการพัฒนารูปแบบการสอนวิชาภาษาอังกฤษแบบ E-learning ตามรูปแบบ POLPE Model เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ให้มีคุณภาพ
2. ผลการพัฒนารูปแบบการสอนวิชาภาษาอังกฤษแบบ E-learning ตามรูปแบบ POLPE Model เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ประกอบด้วย กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1 การเตรียมความพร้อมก่อนเรียน (Pre-learning : P) ขั้นที่ 2 การจัดระเบียบการเรียนรู้ (Organizing learning : O) ขั้นที่ 3 การเรียนรู้ด้วยการอ่าน (Learning by reading : L) ขั้นที่ 4 การนำเสนอการอ่าน ( of reading: P) ขั้นที่ 5 การประเมินผล  (Evaluating the result : E) มีความสมเหตุสมผลเชิงทฤษฎีและมีความเป็นไปได้ และสามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ตามขั้นตอนกระบวนการของรูปแบบได้
3. ผลการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนวิชาภาษาอังกฤษแบบ E-learning ตามรูปแบบ POLPE Model เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ปรากฏผลดังนี้  
    3.1) ผลการวิเคราะห์หาประสิทธิภาพและประสิทธิผลของรูปแบบการสอนวิชาภาษาอังกฤษแบบ E-learning ตามรูปแบบ POLPE Model เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีค่าประสิทธิภาพของรูปแบบเท่ากับ 85.81/83.69 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้   และค่าดัชนีประสิทธิผลของรูปแบบการสอนมีค่าเท่ากับ 0.6679 หมายความว่า นักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนรู้เพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 66.79
    3.2) ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่านเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยรูปแบบการสอนวิชาภาษาอังกฤษแบบ E-learning ตามรูปแบบ POLPE Model เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ก่อนเรียนและ หลังเรียน พบว่า นักเรียนมีความสามารถด้านการอ่านเพื่อความเข้าใจหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
    3.3)  ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการสอนวิชาภาษาอังกฤษแบบ E-learning ตามรูปแบบ POLPE Model เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า นักเรียนกลุ่มตัวอย่างมีระดับความพอใจเฉลี่ยรวมทุกด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด (  x̄= 4.82, S.D. = 0.35)
4. ผลประเมินรูปแบบการสอนวิชาภาษาอังกฤษแบบ E-learning ตามรูปแบบ POLPE Model เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า โดยภาพรวมทุกด้าน     มีความคิดเห็นว่ามีคุณภาพและเหมาะสมมากที่สุด (  x̄= 4.85, S.D. = 0.35) 
สรุปได้ว่า รูปแบบการสอนวิชาภาษาอังกฤษแบบ E-learning ตามรูปแบบ POLPE Model เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ช่วยพัฒนาการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษด้านการอ่านเพื่อความเข้าใจของนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีเหมาะสมที่จะจัดการเรียนรู้ในช่วงสถานการณ์ในปัจจุบันที่มีการระบาดของโรคติดต่อโควิด-19 (COVID-19) เป็นอย่างมาก  จึงควรได้รับการสนับสนุนให้ครู นักเรียนและผู้ที่เกี่ยวข้องในการจัดการเรียนการสอนนำรูปแบบการสอนวิชาภาษาอังกฤษแบบ E-learning ตามรูปแบบ POLPE Model เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 นี้ไปเผยแพร่และใช้ในการจัดการเรียนรู้ในโอกาสต่อไป

ดาวน์โหลดบทคัดย่อ

การพัฒนารูปแบบการสอนวิชาภาษาอังกฤษแบบ E-learning ตามรูปแบบ POLPE Model เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

Comments

comments

- Advertisement -