การศึกษาผลของการใช้แบบฝึกทักษะการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่องการลบ ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/2

0
552

ชื่อเรื่อง การศึกษาผลของการใช้แบบฝึกทักษะการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่องการลบ ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของชั้นประถมศึกษาปีที่1/2 โรงเรียนบ้านหนองยาว
ชื่อผู้วิจัย นายเอกลักษณ์ ฤาชา
สถานศึกษาที่ติดต่อ โรงเรียนบ้านหนองยาว อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่
ปีที่ทำการวิจัย ปีการศึกษา

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อการศึกษาผลของการใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องการลบ ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/2 โรงเรียนบ้านหนองยาว       2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน ใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องการลบ ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของชั้นประถมศึกษาปีที่1/2โรงเรียนบ้านหนองยาว ประชากรที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/2 โรงเรียนบ้านหนองยาว จำนวน 14 คน เทอมที่ 2 ปีการศึกษา  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องการลบ ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของชั้นประถมศึกษาปีที่1/2โรงเรียนบ้านหนองยาว จำนวน 1 ชุด และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาคณิตศาสตร์ โดยใช้คะแนนที่ได้จากการทดสอบความแตกต่างระหว่างคะแนนก่อนและหลังการใช้ชุดฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องการลบ ค่า ( T – test ) เพื่อเปรียบเทียบ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน 
ผลการวิจัยพบว่า
 ผลของการใช้แบบฝึกทักษะการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่องการลบ ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของชั้นประถมศึกษาปีที่1/2โรงเรียนบ้านหนองยาว ค่าประสิทธิภาพของกระบวนการ (E1) เท่ากับ 83.31 และค่าประสิทธิภาพของผลลัพธ์ (E2) เท่ากับ 81.71  ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 80/80 สามารถนำไปใช้การจัดการเรียนรู้ได้ และผลการเปรียบเทียบสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยแบบฝึกทักษะการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่องการลบ ของชั้นประถมศึกษาปีที่1/2 ซึ่งมีคะแนนเต็ม 20 คะแนน นักเรียนกลุ่มตัวอย่าง 14 คน มีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน 12.50 คะแนน และคะแนนเฉลี่ยหลังเรียน 16.14 คะแนน ซึ่งจากการคำนวณหาค่า การทดสอบความแตกต่างของค่ากลางของสองประชากรไม่อิสระ (t-test : Paired Two Sample for Means) ค่า t ที่คำนวนได้ เท่ากับ 9.78

ดาวน์โหลดบทคัดย่อ

การศึกษาผลของการใช้แบบฝึกทักษะการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่องการลบ ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/2

Comments

comments

- Advertisement -