ชื่อเรื่อง : รายงานการประเมินโครงการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนบ้านคลองกระทุ่มแบน (บุญเพ็งอุทิศ) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร
ชื่อผู้ประเมิน : นางสาวชุติมา แก้วไพฑูรย์ รองผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะ รองผู้อำนวยการชำนาญการ
ปีการศึกษา : 2564
บทคัดย่อ
รายงานการประเมินโครงการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนบ้านคลองกระทุ่มแบน (บุญเพ็งอุทิศ) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร โดยใช้รูปแบบจำลองการประเมินโครงการแบบ CIPP Model ตามวิธีของ Daniel Stufflebeam (1971) มีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อประเมิน สภาวะแวดล้อมของโครงการ (Context Evaluation) ประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการ (Input Evaluation) ประเมินกระบวนการของโครงการ (Process Evaluation) และประเมินผลผลิตของโครงการ (Product Evaluation) ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ประเมินด้านสภาวะแวดล้อม/ด้านปัจจัยนำเข้าประกอบด้วย ครูและบุคลากร จำนวน 28 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน รวม 41 คน กลุ่มที่ 2 ประเมินด้านกระบวนการ คือ คือ ครูและบุคลากร จำนวน 28 คน กลุ่มที่ 3 ประเมินด้านผลผลิตโดยตรง คือ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ประกอบด้วย ครูและบุคลากร จำนวน 28 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 จำนวน 368 คน รวม 396 คน โดยเก็บข้อมูลจากประชากรทั้งหมด กลุ่มที่ 4 ประเมินด้านผลผลิตโดยอ้อม คือ การประเมินความพึงพอใจ ของผู้เกี่ยวข้อง โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 384 คน ประกอบด้วย นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 จำนวน 192 คน ผู้ปกครองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 จำนวน 192 คน ครูและบุคลากร จำนวน 28 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน รวม 423 คน โรงเรียนบ้านคลอง กระทุ่มแบน (บุญเพ็งอุทิศ) ปีการศึกษา 2564
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการจำนวน 5 ฉบับ ได้แก่ ฉบับที่ 1 แบบบสอบถามประเมินด้านสภาวะแวดล้อม ฉบับที่ 2 แบบสอบถามประเมินด้านปัจจัยนำเข้า ฉบับที่ 3 แบบสอบถามประเมินด้านกระบวนการ ฉบับที่ 4 ประเมินด้านผลผลิตโดยตรง โดยใช้แบบบันทึกข้อมูลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ผ่านการวัดผลประเมินผลการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้หลัก ได้แก่ วิชาภาษาไทย วิชาคณิตศาสตร์ วิชาวิทยาศาสตร์ วิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม วิชาภาษาอังกฤษ ได้ผลการเรียนระดับ 3 ขึ้นไป ปีการศึกษา 2563 – 2564 ฉบับที่ 5 ประเมินด้านผลผลิตโดยอ้อม โดยใช้แบบสอบถามประเมินความพึงพอใจที่มีต่อโครงการ สถิติที่นำมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมินผลว่า
- ผลการประเมินด้านสภาวะแวดล้อม (context) ของโครงการ โดยภาพรวมมีระดับความสอดคล้อง อยู่ในระดับ มากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน มีความสอดคล้องอยู่ในระดับมากที่สุด ทุกด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ความสอดคล้องของหลักการและเหตุผล รองลงมาคือ ความสอดคล้องของความเป็นไปได้ของโครงการ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ความสอดคล้องของนโยบายที่เกี่ยวข้อง
- ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ของโครงการ โดยภาพรวมมีระดับความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้านโดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการบริหารจัดการ รองลงมาคือ ด้านงบประมาณ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านวัสดุ อุปกรณ์ อาคารสถานที่
- ผลการประเมินด้านกระบวนการดำเนินงาน (Process) ของโครงการ โดยภาพรวมมีระดับการปฏิบัติ อยู่ในระดับ มากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด ทุกด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการดำเนินงาน (Do) รองลงมาคือ การด้านการกำกับนิเทศ ติดตามและประเมินผล (Check) ข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการปรับปรุงและพัฒนาการดำเนินงานและรายงานผล (Act)
- ผลการประเมินด้านผลผลิต (Product) ของโครงการ แบ่งออกเป็น 2 ประเด็น ดังนี้
4.1 ผลการประเมินด้านผลผลิตโดยตรงของโครงการ ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ผ่านการวัดผลประเมินผลการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้หลัก ได้แก่ วิชาภาษาไทย วิชาคณิตศาสตร์ วิชาวิทยาศาสตร์ วิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม วิชาภาษาอังกฤษ ได้ผลการเรียนระดับ 3 ขึ้นไป ปีการศึกษา 2564 โดยภาพรวมเพิ่มสูงขึ้นจากปีการศึกษา 2563 ร้อยละ 5.25 เมื่อพิจารณแยกตามวิชาพบว่า วิชาที่นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับ 3 ขึ้นไป เพิ่มขึ้นสูงสุด คือ วิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนาธรรม รองลงมา คือ วิชาคณิตศาสตร์ วิชาที่นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับ 3 ขึ้นไปไม่เพิ่มขึ้น คือ วิชาภาษาอังกฤษ
4.2 ผลการประเมินด้านผลผลิตโดยอ้อมของโครงการ ด้านความพึงพอใจที่มีต่อผลการดำเนินโครงการ โดยภาพรวมมีระดับความสำเร็จอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาแยกตามกลุ่มผู้ตอบแบบประเมิน มีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุดทุกกลุ่ม โดยกลุ่มที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน รองลงมา คือ ผู้ปกครองนักเรียน กลุ่มที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ครูและบุคลากรทางการศึกษา
ดาวน์โหลดบทคัดย่อ