ชื่อเรื่อง การพัฒนาหลักสูตรการเตรียมความพร้อมสำหรับครูผู้ช่วยในการปฏิบัติหน้าที่ครูในสถานศึกษาด้วยกระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) โรงเรียนสตรีนครสวรรค์
ผู้วิจัย นางสมกมล วรรณทอง
ปีที่วิจัย ปีการศึกษา 2562-2563
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การพัฒนาหลักสูตรการเตรียมความพร้อมสำหรับครูผู้ช่วยในการปฏิบัติหน้าที่ครูในสถานศึกษาด้วยกระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) โรงเรียนสตรีนครสวรรค์สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์ เขต 42 เป็นการวิจัยและพัฒนา (R&D) โดยมีวัตถุประสงค์ในการวิจัยดังนี้คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพ และความต้องการการเตรียมความพร้อมสำหรับครูผู้ช่วยในการปฏิบัติหน้าที่ครูในสถานศึกษา โรงเรียนสตรีนครสวรรค์ 2) เพื่อสร้างและพัฒนาหลักสูตรการเตรียมความพร้อมสำหรับครูผู้ช่วยในการปฏิบัติหน้าที่ครูในสถานศึกษาด้วยกระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) โรงเรียนสตรีนครสวรรค์ และ 3) เพื่อประเมินผลการใช้หลักสูตรการเตรียมความพร้อมสำหรับครูผู้ช่วยในการปฏิบัติหน้าที่ครูในสถานศึกษาด้วยกระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) โรงเรียนสตรีนครสวรรค์ ขั้นตอนการวิจัยมี 3 ขั้นตอนดังนี้คือขั้นตอนที่ 1 การศึกษาสภาพ และความต้องการการเตรียมความพร้อมสำหรับครูผู้ช่วยในการปฏิบัติหน้าที่ครูในสถานศึกษา ขั้นตอนที่ 2 การสร้างคู่มือหลักสูตรการเตรียมความพร้อมสำหรับครูผู้ช่วยในการปฏิบัติหน้าที่ครูในสถานศึกษาด้วยกระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) โรงเรียนสตรีนครสวรรค์ และขั้นตอนที่ 3 การประเมินคู่มือหลักสูตรการเตรียมความพร้อมสำหรับครูผู้ช่วยในการปฏิบัติหน้าที่ครูในสถานศึกษาด้วยกระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) โรงเรียนสตรีนครสวรรค์ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการทดลองใช้ ได้แก่ ครูผู้ช่วยโรงเรียนสตรีนครสวรรค์ ปีการศึกษา 2562 จำนวน 10 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Selection) กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ครูผู้ช่วยโรงเรียนสตรีนครสวรรค์ ปีการศึกษา 2563 จำนวน 6 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Selection) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้าง เพื่อสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพ และความต้องการการเตรียมความพร้อมสำหรับครูผู้ช่วยในการปฏิบัติหน้าที่ครูในสถานศึกษา โรงเรียนสตรีนครสวรรค์ 2) แบบประเมินผลการใช้หลักสูตรการเตรียมความพร้อมสำหรับครูผู้ช่วยในการปฏิบัติหน้าที่ครูในสถานศึกษาด้วยกระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) โรงเรียนสตรีนครสวรรค์ และ 3) แบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้างเพื่อประเมินคู่มือหลักสูตรการเตรียมความพร้อมสำหรับครูผู้ช่วยในการปฏิบัติหน้าที่ครูในสถานศึกษาด้วยกระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) โรงเรียนสตรีนครสวรรค์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. ครูผู้ช่วยมีความต้องการ ในการเตรียมความพร้อมสำหรับในการปฏิบัติหน้าที่ครูในสถานศึกษา โรงเรียนสตรีนครสวรรค์ เรียงตามลำดับความสำคัญดังนี้ คือ 1) ต้องการคู่มือ และแนวทางในการปฏิบัติราชการ 2) ต้องการทราบระเบียบและกฎเกณฑ์ต่างๆ ในการปฏิบัติราชการ
3) ต้องการแนวทางการรักษาวินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ และ 4) ต้องการได้รับการปฐมนิเทศ และการนิเทศจากครูพี่เลี้ยงแบบกัลยาณมิตร
2. หลักสูตรการเตรียมความพร้อมสำหรับครูผู้ช่วยในการปฏิบัติหน้าที่ครูในสถานศึกษาด้วยกระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) โรงเรียนสตรีนครสวรรค์ พบว่า มีรูปแบบขั้นตอนวิธีการพัฒนา 7 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นปฐมนิเทศ 2) ขั้นปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย
3) ขั้นสังเกตการณ์สอน 4) ขั้นนิเทศการสอน 5) ขั้นครูผู้ช่วยพบกลุ่มด้วยกระบวนการ PLC
6) ขั้นประเมินผล และ 7) ขั้นแลกเปลี่ยนเรียนรู้
3. การประเมินผลการใช้หลักสูตรการเตรียมความพร้อมสำหรับครูผู้ช่วยในการปฏิบัติหน้าที่ครูในสถานศึกษาด้วยกระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) โรงเรียนสตรีนครสวรรค์ นครสวรรค์ ในการทดลองใช้ ปีการศึกษา 2562 พบว่า ระดับคุณภาพระดับดีมาก (x̄= 4.50, S.D. = 0.38)
4. การประเมินผลการใช้หลักสูตรการเตรียมความพร้อมสำหรับครูผู้ช่วยในการปฏิบัติหน้าที่ครูในสถานศึกษาด้วยกระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) โรงเรียนสตรีนครสวรรค์ นครสวรรค์ ในการศึกษา ปีการศึกษา 2563 พบว่า ระดับคุณภาพระดับดีมาก (x̄= 4.58, S.D. = 0.24)
5. คู่มือหลักสูตรการเตรียมความพร้อมสำหรับครูผู้ช่วยในการปฏิบัติหน้าที่ครูในสถานศึกษาด้วยกระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) โรงเรียนสตรีนครสวรรค์ ทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านความถูกต้อง ด้านความเหมาะสม ด้านความเป็นไปได้ และด้านความเป็นประโยชน์ ในภาพรวมเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด
(x̄= 4.70, S.D. = 0.11)
Abstract
Title: The Development of Curriculum Preparation for Assistant Teacher on Duty as Teacher at School with Professional Learning Community Process at Satri Nakhonsawan School
Author: Miss. Somkamon Wanthong
Research Year: Academic Year 2019-2020
The development of curriculum preparation for assistant teacher on duty as teacher at school with professional learning community process at Satri Nakhonsawan School was research and development. The purposes of this research were; 1) to study the condition and demand on preparation for assistant teacher on duty as teacher at Satri Nakhonsawan School, 2) to build and develop the curriculum preparation for assistant teacher on duty as teacher at school with professional learning community process at Satri Nakhonsawan School, and 3) to evaluate the implementation of the curriculum preparation for assistant teacher on duty as teacher at school with professional learning community process at Satri Nakhonsawan School. Target group for try-out studying were 10 assistant teachers at Satri Nakhonsawan School on academic year 2019 selected by purposive selection.
Target group for real studying were 6 assistant teachers at Satri Nakhonsawan School on academic year 2020 selected by purposive selection. The research instruments were; 1) the semi structure in-depth interview questionnaire for survey the condition and demand on preparation for assistant teacher on duty as teacher at Satri Nakhonsawan School, 2) the evaluation form to evaluate the implementation of the curriculum preparation for assistant teacher on duty as teacher at school with professional learning community process at Satri Nakhonsawan School, and 3) the semi structure in-depth interview questionnaire for evaluate the manual of the curriculum preparation for assistant teacher on duty as teacher at school with professional learning community process at Satri Nakhonsawan School. The data were analyzed by using frequency, percentage, mean and standard deviation.
The research findings were as follows:
1. The demand on preparation for assistant teacher on duty as teacher at Satri Nakhonsawan School were; 1) to need the manual and the guideline for working at school, 2) to want to know about the rule and the regulation for working at school, 3) to want to know how to held orders and disciplines, moral, ethics and teacher professional ethics, and 4) to want to obtain the orientation and supervision from the mentors with kindly and friendly.
2. The components of curriculum preparation for assistant teacher on duty as teacher at school with professional learning community process at Satri Nakhonsawan School were the orientation, working on duty, teaching observation, supervision, assistant teacher meeting using professional learning community process, and evaluating and knowledge sharing.
3. Evaluating the implementation of the curriculum preparation for assistant teacher on duty as teacher at school with professional learning community process at Satri Nakhonsawan School with target group for try-out studying on academic year 2019 were at the most appropriate level. (x̄= 4.50, S.D. = 0.38)
4. Evaluating the implementation of the curriculum preparation for assistant teacher on duty as teacher at school with professional learning community process at Satri Nakhonsawan School with target group for real studying on academic year 2020 were at the most appropriate level. (x̄= 4.58, S.D. = 0.24)
5. All of the accuracy, propriety, feasibility and utility of the manual of curriculum preparation for assistant teacher on duty as teacher at school with professional learning community process at Satri Nakhonsawan School were at the most appropriate level. (x̄= 4.70, S.D. = 0.11)
ดาวน์โหลดบทคัดย่อ