ชื่อผลงาน : ผลการพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะภาษาไทยเรื่อง การอ่านและเขียนคำที่ประสมสระเสียงยาวกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนบ้านกูวา
ผู้ศึกษา นางแวสะนะ บิดี
ตำแหน่ง ครู โรงเรียนบ้านกูวา สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต ๑
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) เพื่อหาประสิทธิภาพแบบฝึกเสริมทักษะภาษาไทยเรื่อง การอ่านและเขียนคำที่ประสมสระเสียงยาว กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนบ้านกูวา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต ๑ ตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ ๘๐/๘๐ ๒) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะภาษาไทยเรื่อง การอ่านและเขียนคำที่ประสมสระเสียงยาว กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนบ้านกูวา และ ๓) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะภาษาไทยเรื่อง การอ่านและเขียนคำที่ประสมสระเสียงยาว กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนบ้านกูวา ประชากรที่ใช้ในการศึกษาเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนบ้านกูวา ในภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๓ จำนวน ๑๘ คน ที่ผู้รายงานเป็นครูประจำชั้นและเป็นผู้สอน ใช้แบบแผนการศึกษาโดยยึดแบบกลุ่มเดียว โดยวัดผลก่อนและหลังการทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย ๑) แบบฝึกเสริมทักษะภาษาไทยเรื่อง การอ่านและเขียนคำที่ประสมสระเสียงยาว กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนบ้านกูวา จำนวน ๘ เล่ม ๒) แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง การอ่านและเขียนคำที่ประสมสระเสียงยาว กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนบ้านกูวา จำนวน ๒๔ แผน ๓) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง การอ่านและเขียนคำที่ประสมสระเสียงยาว กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนบ้านกูวา ก่อนเรียนและหลังเรียน จำนวน ๒๐ ข้อ และ ๔) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกเสริมทักษะภาษาไทยเรื่อง การอ่านและเขียนคำที่ประสมสระเสียงยาว กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนบ้านกูวา จำนวน ๑๐ ข้อ ดำเนินการศึกษาโดยทำการสอนในชั่วโมงเรียนสอนซ่อมเสริมประจำวัน ในระหว่างเวลา ๑๔.๑๕ น. – ๑๕.๑๕ น. ตั้งแต่วันที่ ๑๔ ธันวาคม ๒๕6๓ ถึงวันที่ ๑๘ มกราคม ๒๕6๔ ของภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๓ ใช้เวลาทั้งสิ้น ๒๔ ชั่วโมง ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติประกอบด้วยค่าทดสอบประสิทธิภาพ E1/E2 ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่า
๑) ผลการทำกิจกรรมระหว่างเรียนของนักเรียนซึ่งเป็นค่าประสิทธิภาพของกระบวนการ (E1) มีค่าเท่ากับ ๘๒.๕๗ และผลการทดสอบหลังเรียนซึ่งเป็นค่าประสิทธิภาพของผลลัพธ์ (E2) มีค่าเท่ากับ ๘๑.๑๑ ดังนั้น แบบฝึกเสริมทักษะภาษาไทยเรื่อง การเขียนสะกดคำที่ประสมกับสระ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนบ้านกูวา มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ ๘๒.๕๗/๘๑.๑๑
๒) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะภาษาไทยเรื่อง การเขียนสะกดคำที่ประสมกับสระ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนบ้านกูวา ก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๙.๖๑ และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ ๒.๖๓ ส่วนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๑๖.๒๒ และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ ๒.๓๔ โดยมีค่าพัฒนาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนเฉลี่ย ๖.๖๑
๓) ระดับความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะภาษาไทยเรื่อง การเขียนสะกดคำที่ประสมกับสระ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนบ้านกูวา ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๖๕ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ ๐.๒๔
ดาวน์โหลดบทคัดย่อ
ผลการพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะภาษาไทยเรื่อง การอ่านและเขียนคำที่ประสมสระเสียงยาวกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนบ้านกูวา