รายงานการพัฒนารูปแบบการสอนภาษาอังกฤษเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจและทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 รายวิชา ภาษาอังกฤษ 4 รหัสวิชา อ22102

0
651

ชื่อเรื่อง          รายงานการพัฒนารูปแบบการสอนภาษาอังกฤษเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจและทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 รายวิชา ภาษาอังกฤษ 4 รหัสวิชา อ22102

ผู้ศึกษา          นางสาวเตือนใจ  เจริญตา  วิทยฐานะ

ปีที่พิมพ์          2565

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนามีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับรูปแบบ การสอนภาษาอังกฤษเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษ เพื่อความเข้าใจและทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 รายวิชา ภาษาอังกฤษ 4 รหัสวิชา อ22102 2) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการสอนภาษาอังกฤษเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษ เพื่อความเข้าใจและทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 รายวิชา ภาษาอังกฤษ 4  รหัสวิชา อ22102 ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการสอนภาษาอังกฤษเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษ เพื่อความเข้าใจและทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 รายวิชา ภาษาอังกฤษ 4 รหัสวิชา อ22102 3.1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษ โดยใช้รูปแบบการสอนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 3.2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณโดยใช้รูปแบบการสอนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน และ 4) เพื่อประเมินรูปแบบการสอนภาษาอังกฤษเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษ เพื่อความเข้าใจและทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 รายวิชา ภาษาอังกฤษ 4 รหัสวิชา อ22102 โดยนำไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ห้อง ม.2/2 จำนวน 38 คน โรงเรียนบัวใหญ่ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา ที่เรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 ด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่ายและใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม ระยะเวลาในการทดลอง 15 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนภาษาอังกฤษที่มีชื่อว่า “AFRUT” แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจ แบบประเมินทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ  แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการสอนภาษาอังกฤษ สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่า t-test แบบ dependent

ผลการวิจัย พบว่า

           1. สภาพปัญหาการจัดการเรียนการสอนรายวิชา ภาษาอังกฤษ ในปีการศึกษา 2561 พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชา ภาษาอังกฤษ 4 รหัสวิชา อ22102 ต่ำกว่าเกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนด (คะแนนเฉลี่ย 2.50) ประการแรก นักเรียนส่วนใหญ่สามารถอ่านบทความหรือเรื่องราวต่าง ๆ ได้และเข้าใจสิ่งที่อ่านตามตัวอักษร ตลอดจนสามารถตอบคำถามที่วัดความจากเนื้อเรื่องที่อ่านได้แต่ยังขาดวิจารณญาณในการอ่าน กล่าวคือเมื่อมอบหมายให้นักเรียนอ่านเรื่องราวและตอบคำถามซึ่งเป็นคำถามเชิงคิดวิเคราะห์ หรือมอบหมายให้นักเรียนเขียนสะท้อนความคิดเห็นต่อสิ่งที่อ่าน นักเรียนส่วนใหญ่มักตอบคำถามไม่ได้และเขียนงานออกมาในลักษณะของการเขียนเล่าเรื่องราวจากสิ่งที่อ่านหรือคัดลอกข้อความจากสิ่งที่อ่านมาเขียนเป็นคำตอบโดยที่ไม่มีการวิเคราะห์ข้อมูลหรือผนวกเอาความคิดที่ตนเองประเมินได้จากสิ่งที่อ่านไปเขียนสนับสนุน  ประการที่สอง ครูยังใช้วิธีการสอนให้นักเรียนเพียงแค่ความจำแต่ไม่ได้ฝึกทักษะคิดให้เพียงพอ นักเรียนจึงขาดทักษะการคิดควบคู่ไปด้วย ขาดแนวทางในการแสวงหาคำตอบที่สะท้อนหรือตอบสนองต่อสิ่งที่พวกเขาอ่านอย่างแท้จริง อีกทั้งผลการสอบถามความต้องการของนักเรียน พบว่า นักเรียนต้องการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียน  การสอนที่หลากหลาย เน้นให้ฝึกซ้ำๆ จนเกิดความชำนาญในการอ่านเพื่อความเข้าใจ ตลอดจนสามารถประเมินและซาบซึ้งหรือเห็นคุณค่าในสิ่งที่อ่านแล้วสามารถเขียนหรือนำเสนอผลสะท้อนและความคิดเห็นต่อสิ่งที่อ่านได้ อีกทั้งยังสามารถใช้ความคิดเห็นและการตัดสินใจของตนเองในการประเมินเนื้อหาและโครงสร้างของสิ่งที่อ่านในรูปแบบต่าง ๆ ว่ามีคุณค่าหรือไม่อย่างไร นอกจากนี้ผลการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ พบว่า การจัดการเรียนการสอนรายวิชาภาษาอังกฤษ ควรพัฒนาทั้งด้านความรู้ ทักษะการคิด และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ให้นักเรียนสามารถสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองและมีทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณได้     

    2. ผลการพัฒนารูปแบบการสอนภาษาอังกฤษเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจ ละทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 รายวิชา ภาษาอังกฤษ 4                 รหัสวิชา อ22102 มีชื่อรูปแบบการสอนว่า “AFRUT”  ประกอบด้วย ทฤษฎีหลักการแนวคิด วัตถุประสงค์  กระบวนการเรียนการสอน ซึ่งมีกระบวนการเรียนการสอน 5 ขั้นตอน  คือ ขั้นที่ 1  ขั้นถามคำถามนำก่อน          การอ่าน (Asking priming questions) ขั้นที่ 2 ขั้นหาความหมายของคำศัพท์ (Finding the meaning of vocabularies) ขั้นที่ 3 ขั้นอ่านเนื้อเรื่อง (Reading the text)  ขั้นที่ 4  ขั้นทำความเข้าใจเนื้อเรื่องUnderstanding the Text) และขั้นที่ 5 ขั้นถ่ายโอนข้อมูลด้วยกระบวนการวิเคราะห์ QUEST (Transferring information with analyzing the QUEST section) ค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) ของรูปแบบการสอนด้านความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษ เท่ากับ 83.85/83.21 และค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) ของรูปแบบการสอนด้านทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 82.56/82.16 เมื่อเทียบกับเกณฑ์ 80/80 ปรากฏว่ามีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้

    3. ผลการใช้รูปแบบการสอนภาษาอังกฤษด้านความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผลการใช้รูปแบบการสอนภาษาอังกฤษด้านทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

    4. ผลการประเมินรูปแบบการสอนภาษาอังกฤษเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษและทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 รายวิชา ภาษาอังกฤษ 4 (อ22102) พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการสอนภาษาอังกฤษโดยรวมอยู่ในระดับมาก
(x̄= 4.56, S.D. = 0.64)

ดาวน์โหลดบทคัดย่อ

รายงานการพัฒนารูปแบบการสอนภาษาอังกฤษเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจและทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 รายวิชา ภาษาอังกฤษ 4 รหัสวิชา อ22102

Comments

comments

- Advertisement -