การพัฒนาทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์และเขียนของนักเรียนโดยใช้ KRU-DEE MODEL โรงเรียนบ้านกรือซอ ปีการศึกษา 2562 – 2563

0
620

ชื่อเรื่องวิจัย : การพัฒนาทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์และเขียนของนักเรียนโดยใช้ KRU-DEE MODEL โรงเรียนบ้านกรือซอ ปีการศึกษา 2562 – 2563

ชื่อผู้วิจัย : นางสาววีซานา อับดุลเลาะ

ปีการศึกษา : -2563

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1. ศึกษาระดับคุณภาพการพัฒนาทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์และเขียนของนักเรียนโดยใช้ KRU-DEE MODEL โรงเรียนบ้านกรือซอ ปีการศึกษา 2562 – 2563 2. ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนาทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์และเขียนของนักเรียนโดยใช้ KRU-DEE MODEL โรงเรียนบ้านกรือซอ ปีการศึกษา 2562 – 2563  3. เพื่อศึกษาทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์และเขียนของนักเรียนโรงเรียนบ้านกรือซอ หลังการพัฒนาโดยใช้ KRU-DEE MODEL ปีการศึกษา และ 2563  
4. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และองค์กรชุมชนต่อการพัฒนาทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์และเขียนของนักเรียน โดยใช้ KRU-DEE MODEL โรงเรียนบ้านกรือซอ ปีการศึกษา 2562 – 2563

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย นักเรียน ปีการศึกษา และปีการศึกษา 2563 จำนวน 76 คน ครู ปีการศึกษา 2562 และปีการศึกษา 2563 จำนวน 17 คน ผู้ปกครอง ปีการศึกษา 2562 และปีการศึกษา 2563 จำนวน 76 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2562และปีการศึกษา 2563 จำนวน 13 คน และองค์กรชุมชน ปีการศึกษา 2562 และปีการศึกษา 2563  จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมทั้งสิ้น 4 ฉบับ มีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือทุกฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า

1. ระดับคุณภาพการพัฒนาทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์และเขียนของนักเรียนโดยใช้ KRU-DEE MODEL โรงเรียนบ้านกรือซอ ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน หลังการพัฒนา ปีการศึกษา -2563 พบว่า
ปีการศึกษา
โดยภาพรวมทุกกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (x̄=3.71, S.D.= 0.08) เมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า กลุ่มผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมาก (x̄=4.08, S.D.= 0.09) รองลงมาได้แก่ กลุ่มนักเรียน อยู่ในระดับมาก (x̄=4.03, S.D.= 0.08) ส่วนกลุ่มองค์กรชุมชนมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด อยู่ในระดับปานกลาง (x̄=3.42, S.D.= 0.08)

ปีการศึกษา 2563

โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ตอบแบบสอบถาม มีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับมากที่สุด (x̄=4.60, S.D.= 0.15) เมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด (x̄=4.69, S.D.= 0.12) รองลงมาได้แก่ กลุ่มครูและองค์กรชุมชน โดยกลุ่มครูอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄=4.60, S.D.= 0.12) โดยกลุ่มองค์กรชุมชนอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄=4.60, S.D.= 0.20) ส่วนกลุ่มผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด อยู่ในระดับมากที่สุด (x̄=4.52, S.D.= 0.22) สอดคล้องกับสมมุติฐาน

2. สรุปผลการวิเคราะห์ระดับการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนาทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์และเขียนของนักเรียนโดยใช้ KRU-DEE MODEL โรงเรียนบ้านกรือซอ ปีการศึกษา 2562 – 2563 จำแนกตามกลุ่มที่ตอบแบบสอบถาม พบว่า

ปีการศึกษา โดยรวมผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมอยู่ในระดับมาก (x̄= 3.64, S.D.= 0.10) และเมื่อจำแนกตามกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า กลุ่มครู มีส่วนร่วม (x̄= 3.97, S.D.= 0.08) อยู่ในระดับมาก รองลงมาได้แก่ กลุ่มผู้ปกครอง (x̄= 3.88, S.D.= 0.12) อยู่ในระดับมาก ส่วนกลุ่มองค์กรชุมชน มีส่วนร่วมต่ำสุด อยู่ในระดับมากเช่นกัน (x̄= 3.23, S.D.= 0.08)

ปีการศึกษา 2563 โดยรวมผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในระดับมากที่สุด (x̄= 4.56, S.D.= 0.11) และเมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า กลุ่มครู มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด (x̄= 4.68, S.D.= 0.11) รองลงมาได้แก่ กลุ่มนักเรียน (x̄= 4.61, S.D.= 0.11) ส่วนกลุ่มองค์กรชุมชน มีส่วนร่วมต่ำสุด อยู่ในระดับมาก (x̄= 4.21, S.D.= 0.11) สอดคล้องกับสมมุติฐาน

3. ผลการเปรียบเทียบการสังเกตการพัฒนาทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์และเขียนของนักเรียนโดยใช้ KRU-DEE MODEL โรงเรียนบ้านกรือซอหลังการพัฒนา ปีการศึกษา และ 2563 พบว่า

ปีการศึกษา ทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์และเขียนของนักเรียนตามตัวบ่งชี้ที่โรงเรียนกำหนด ทั้ง 3 ด้าน มีคุณภาพระดับดีขึ้นไป มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 80

ปีการศึกษา 2563 ทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์และเขียนของนักเรียน ตามตัวบ่งชี้ที่โรงเรียนกำหนด ทั้ง 3 ด้าน มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 92.94 แสดงให้เห็นว่าทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์และเขียนของนักเรียน ปีการศึกษา 2563 มีการพัฒนาสูงกว่า ปีการศึกษา สอดคล้องตามสมมติฐาน

4. สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และเครือข่ายชุมชนในการพัฒนาทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์และเขียนของนักเรียนโดยใช้ KRU-DEE MODEL โรงเรียนบ้านกรือซอ หลังการพัฒนา ปีการศึกษา -2563 พบว่า

ปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินมีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมาก (x̄= 3.66, S.D. = 0.09) เมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มที่ตอบแบบสอบถาม พบว่า ผู้ปกครอง มีความพึงพอใจ ค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมาก (x̄= 4.11 S.D. = 0.08) รองลงมาได้แก่ กลุ่มนักเรียน อยู่ในระดับมาก (x̄= 3.73, S.D. = 0.14) ส่วนกลุ่มครู มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจต่ำสุด อยู่ในระดับปานกลาง (x̄= 3.45, S.D. = 0.12)

ปีการศึกษา 2563 โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินมีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุด (x̄= 4.68, S.D. = 0.12 ) เมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความพึงพอใจ ค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด (x̄= 4.89, S.D. = 0.13) รองลงมาได้แก่ กลุ่มครูอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄= 4.68, S.D. = 0.11) ส่วนกลุ่มองค์กรชุมชน มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจต่ำสุด อยู่ในระดับมากที่สุด เช่นกัน (x̄= 4.57, S.D. = 0.21) สอดคล้องตามสมมติฐาน

ข้อเสนอแนะ

จากการวิจัยการพัฒนาทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์และเขียนของนักเรียนโดยใช้ KRU-DEE MODEL โรงเรียนบ้านกรือซอ ปีการศึกษา 2562-2563 ครั้งนี้ทำให้ได้ค้นพบจุดเด่น ของการมีแบบอย่างที่ดี ซึ่งเป็นประโยชน์และเป็นแนวทางในการพัฒนาทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์และเขียนของนักเรียนต่อไป

1. ข้อเสนอแนะเพื่อการนำผลการวิจัยไปใช้

1.1  K:  Knowledge  (ความรู้) ควรมีการบริหารจัดการให้ความสำคัญกับความรู้ความเข้าใจในทุกภาคส่วนเป็นหลัก และให้ความสำคัญ การสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้มีความเข้าใจร่วมกัน ทั้งภาคีเครือข่าย คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง เครือข่ายชุมชน สร้างความรู้ความเข้าใจด้านต่าง ๆ บุคลากรครูมีความรู้ที่ชัดเจนในสายงานที่ได้รับมอบหมาย มีการพัฒนาตนเองสร้างองค์ความรู้ให้เกิดขึ้น สร้างและสนับสนุนบุคลากรให้มีคุณภาพ จะเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนานักเรียนให้เกิดการพัฒนาคุณภาพทางด้านทักษะการคิดวิเคราะห์และเขียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

1.2 R :  Responsibility (ความรับผิดชอบ) ควรมีการบริหารจัดการเสริมสร้างให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องทั้งในองค์กรและนอกองค์กรมีความตระหนักถึงบทบาทและความรับผิดชอบในการร่วมมือดำเนินกิจกรรมร่วมกันเพื่อพัฒนานักเรียน หากทุกฝ่ายเกิดความตระหนักถึงหน้าที่ความรับผิดชอบร่วมกัน ย่อมจะเกิดการพัฒนานักเรียนร่วมกันอย่างมีคุณภาพ

1.3 U : Unity (ความสามัคคี) ควรมีการบริหารจัดการให้ทุกคนเห็นความสำคัญและคุณค่าของทีมงานทุกฝ่าย ส่งเสริมให้ทุกคนตระหนักถึงความสำคัญของความสามัคคี ด้วยความสามัคคีนั้นจะเป็นพลังสำคัญที่ทำให้งานต่าง ๆ บรรลุตามเป้าหมายได้อย่างมีคุณภาพจะเป็นพลังที่จะทำให้เกิดการพัฒนานักเรียนได้อย่างยั่งยืน

1.4 D : Do  (การปฏิบัติ) ควรมีการบริหารจัดการในการลงมือปฏิบัติ จากการที่ได้วิเคราะห์การดำเนินงานและวางแผนขั้นตอนต่าง ๆ อย่างรอบคอบ เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติจริงที่ต้องการให้เกิดผลลัพธ์อย่างมีคุณภาพนั้น จะเป็นขั้นตอนการดำเนินงานที่ทำให้เกิดผลลัพธ์เกิดขึ้นจริงในการพัฒนานักเรียน          

1.5 E:Evaluation  (การใส่ใจประเมินผลทุกขั้นตอน) ควรมีการบริหารจัดการที่มีการทบทวนประเมินผลในทุกระยะ ในการดำเนินงานซึ่งมีการร่วมวางแผน และร่วมดำเนินการ และร่วมประเมินผล ในแต่ละช่วงเวลาควรมีการประเมินการทำงานอย่างเป็นระยะ เพื่อให้เป้าหมายที่ได้วางร่วมกันไว้เกิดผลลัพธ์อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด 

1.6 : Eulogize  (การชื่นชมให้กำลังใจ) ควรมีการบริหารจัดการที่มีการแจ้งผลการดำเนินงานเพื่อให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องรับทราบผลจากการดำเนินงาน ตลอดจนมีการชื่นชม ยกย่อง สำหรับผลการดำเนินงานที่เกิดผลลัพธ์ต่อผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพอย่างชัดเจนเชิงประจักษ์ ขณะเดียวกันส่งเสริมการให้กำลังใจซึ่งกันและกันในการดำเนินงานเพื่อพัฒนาเพิ่มเติม ต่อเนื่องในการร่วมบริหารจัดการ ดำเนินงานเพื่อให้เป้าหมายเกิดขึ้นกับนักเรียนตามที่คาดหวังไว้จะทำให้เกิดแรงกระตุ้นในการดำเนินงานร่วมกัน และทำให้เกิดผลลัพธ์ต่อนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด 

2. ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป

2.1 ควรศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์และเขียนของนักเรียน

2.2 ควรศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนาทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์และเขียนของนักเรียนกับแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน

2.3 ควรศึกษาผลกระทบทางบวกของการพัฒนาทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์และเขียนของนักเรียนที่มีต่อบริบทต่อตัวนักเรียนเองและสังคม

ดาวน์โหลดบทคัดย่อ

การพัฒนาทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์และเขียนของนักเรียนโดยใช้ KRU-DEE MODEL โรงเรียนบ้านกรือซอ ปีการศึกษา 2562 – 2563

Comments

comments

- Advertisement -