การพัฒนาสภาพแวดล้อมในโรงเรียนให้เป็นอุทยานการศึกษาที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียนสายปัญญา ในพระบรมราชินูปถัมภ์

0
819

ชื่อเรื่อง    การพัฒนาสภาพแวดล้อมในโรงเรียนให้เป็นอุทยานการศึกษาที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียนสายปัญญา ในพระบรมราชินูปถัมภ์

ผู้วิจัย       นางสาววิมลนาถ บัวแก้ว

การวิจัยเรื่องการพัฒนาสภาพแวดล้อมในโรงเรียนให้เป็นอุทยานการศึกษาที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ของนักเรียนโรงเรียนสายปัญญา ในพระบรมราชินูปถัมภ์ มีวัตถุประสงค์ทั่วไปเพื่อรายงานผลการดำเนินงาน การพัฒนาสภาพแวดล้อมให้เป็นอุทยานการศึกษาที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนสายปัญญา ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เฉพาะ 1) เพื่อรายงานผลการดำเนินการพัฒนาสภาพแวดล้อม ในโรงเรียนให้เป็นอุทยานการศึกษาที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ด้านกายภาพ ด้านวิชาการ และด้านการบริหารจัดการ 2) เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจของครูและนักเรียนที่มีต่อการพัฒนาสภาพแวดล้อมในโรงเรียน ให้เป็นอุทยานการศึกษาที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนสายปัญญา ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ก่อนและหลังการดำเนินการพัฒนา และ 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โรงเรียนสายปัญญา ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ก่อนและหลังการดำเนินงานในรายวิชาภาษาไทย สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ภาษาต่างประเทศ คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งวิธีการดำเนินการ ประกอบด้วย ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการจำเป็น วิเคราะห์ทางเลือกในการแก้ปัญหา กำหนดทางเลือกที่เหมาะสมและวางแผนแก้ปัญหา การดำเนินงานโครงการ/กิจกรรมตามแผนที่กำหนด และประเมินผล

กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย ครูในโรงเรียนสายปัญญา ในพระบรมราชินูปถัมภ์ จำนวน 69 คน ได้เลือกแบบเจาะจง และนักเรียนในโรงเรียนสายปัญญา ในพระบรมราชินูปถัมภ์ จำนวน 102 คน และ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 101 คน และนักเรียนกลุ่มเดียวกัน ซึ่งเรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 รวมจำนวน 203 คน ได้มาจากวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วนของจำนวนนักเรียน ในแต่ละชั้น และใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง รวมจำนวน 272 คน โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาสภาพแวดล้อมในโรงเรียนให้เป็นอุทยานการศึกษาที่เอื้อต่อ การเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนสายปัญญา ในพระบรมราชินูปถัมภ์สำหรับครูและนักเรียน แบบสอบถาม ความพึงพอใจต่อการพัฒนาสภาพแวดล้อมในโรงเรียนให้เป็นอุทยานการศึกษาที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนสายปัญญา ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ระยะที่ 1 และระยะที่ 2 สำหรับครู และนักเรียน และการวิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย (x̄) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และ t – test

ผลการวิจัย พบว่า สภาพปัญหาที่พบคือ สภาพปัญหาสภาพแวดล้อมทางกายภาพ สภาพปัญหาสภาพแวดล้อมทางวิชาการ และสภาพปัญหาสภาพแวดล้อมทางการบริหารจัดการ จึงกำหนดให้มีโครงการ พัฒนาสภาพแวดล้อมให้เป็นอุทยานการศึกษาที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนทั้ง 3 ด้าน ซึ่งโรงเรียนสายปัญญา ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ได้กำหนดนโยบายการพัฒนาสภาพแวดล้อมในโรงเรียนให้เป็นอุทยานการศึกษาที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียน โดยมีการแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาสภาพแวดล้อมในโรงเรียนให้เป็นอุทยานการศึกษา ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนทำหน้าที่วิเคราะห์หาแนวทางในการแก้ปัญหา และการพัฒนาสภาพแวดล้อมในแต่ละด้าน และกำหนดทางเลือกที่เหมาะสมและวางแผนแก้ปัญหา ได้โครงการและกิจกรรมเพื่อการพัฒนาสภาพแวดล้อมในโรงเรียนให้เป็นอุทยานการศึกษาที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนต่อเนื่อง 2 ระยะคือ ระยะที่ 1 ตั้งแต่ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 ถึงสิ้นภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา และระยะที่ 2 ตั้งแต่ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 ถึงสิ้นภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา มีจำนวน 8 โครงการคือ สภาพแวดล้อมทางกายภาพ มีจำนวน 2 โครงการคือ โครงการพัฒนาอาคารสถานที่ และโครงการสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน สภาพแวดล้อมทางวิชาการ มีจำนวน 3 โครงการคือ โครงการพัฒนาห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ ในโรงเรียน โครงการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรม น้อมนำวิถีพุทธ และโครงการพัฒนาทักษะชีวิตคู่คุณธรรม สำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อม เป็น “กุลสตรี มีปัญญา” และสภาพแวดล้อมทางการบริหารจัดการ มีจำนวน 3 โครงการคือ โครงการสถานศึกษาปลอดภัยและสุขอนามัยดี โครงการโภชนาการโรงเรียน และโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข โดยมีการดำเนินการตามโครงการ/กิจกรรมตามแผนที่กำหนด และประเมินผล ผลการเปรียบเทียบความพึงพอใจของครูและนักเรียน ก่อนและหลังการดำเนินโครงการการพัฒนาสภาพแวดล้อมในโรงเรียนให้เป็นอุทยานการศึกษาที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนสายปัญญา ในพระบรมราชินูปถัมภ์ โดยภาพรวม และในแต่ละด้านคือ สภาพแวดล้อมทางกายภาพ สภาพแวดล้อมทางวิชาการ และสภาพแวดล้อมทางการบริหารจัดการ ก่อนและหลังการดำเนินงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงว่า ความพึงพอใจของครูและนักเรียนหลังการดำเนินงานสูงกว่าก่อนการดำเนินงาน และผลการเปรียบเทียบ ความคิดเห็นของครูและนักเรียนที่มีต่อสภาพปัญหาการพัฒนาสภาพแวดล้อมในแต่ละด้านคือ สภาพแวดล้อม ทางกายภาพ สภาพแวดล้อมทางวิชาการ และสภาพแวดล้อมทางการบริหารจัดการ โดยภาพรวม และ ในแต่ละสภาพปัญหาการพัฒนาสภาพแวดล้อม พบว่า ครูและนักเรียนมีความคิดเห็นต่อสภาพปัญหาการพัฒนาสภาพแวดล้อมทั้ง 3 ด้าน ก่อนและหลังการดำเนินงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงว่า ครูและนักเรียนมีความคิดเห็นต่อทุกสภาพปัญหาการพัฒนาสภาพแวดล้อมหลังการดำเนินงานน้อยกว่า ก่อนการดำเนินงาน รวมทั้งผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย กลุ่มสาระ การเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ และกลุ่มสาระการเรียนรู้ มีร้อยละของจำนวนนักเรียนที่ได้ระดับ ผลการเรียนตั้งแต่ 2.50 ขึ้นไป หลังการดำเนินงานมากกว่าก่อนการดำเนินงาน ส่วนร้อยละของจำนวนนักเรียนที่ได้ระดับผลการเรียนต่ำกว่า 2.50 หลังการดำเนินงานน้อยกว่าก่อนการดำเนินงาน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ มีร้อยละของจำนวนนักเรียนที่ได้ระดับผลการเรียนตั้งแต่ 2.50 ขึ้นไป หลังการดำเนินงานสูงกว่าก่อนการดำเนินงาน ส่วนระดับผลการเรียนต่ำกว่า 2.50 หลังการดำเนินงานต่ำกว่า ก่อนการดำเนินงาน

ดาวน์โหลดบทคัดย่อ

การพัฒนาสภาพแวดล้อมในโรงเรียนให้เป็นอุทยานการศึกษาที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียนสายปัญญา ในพระบรมราชินูปถัมภ์

Comments

comments

- Advertisement -