การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมพัฒนาการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนสัตหีบวิทยาคม

0
490

ชื่อวิจัย : การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมพัฒนาการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนสัตหีบวิทยาคม
ผู้วิจัย : ณัฐชา จันทร์ดา

การวิจัยครั้งนี้มุ่งพัฒนาการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการพัฒนาการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนสัตหีบวิทยาคม 2) เพื่อพัฒนาการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนสัตหีบวิทยาคมโดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม 3) เพื่อศึกษาผลการพัฒนา การดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนสัตหีบวิทยาคมโดยใช้หลักการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ตามทฤษฎีแนวคิดของเคมมิส และแม็คแท็คการ์ด (Kemmis & McTaggart,1988)  ซึ่งอธิบายกระบวนการวิจัยไว้เป็นวงจรละ 4 ขั้นตอน คือ 1) การวางแผน(Planning)  2) การกระทำหรือดำเนินการตามแผน (Action)  3) การสังเกตผล (Observation) และ 4) การสะท้อนผลและทบทวน (Reflection) การกำเนินการวิจัยครั้งนี้แบ่งเป็น 3 วงรอบ  โดยกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักมาจากตัวแทนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจำนวน 32 คน ได้แก่ ครูที่ปรึกษาทุกระดับชั้นระดับชั้นละ 1 คน รวม  6 คน  หัวหน้าระดับชั้นทุกระดับชั้น จำนวน 6 คน  คณะกรรมการสถานศึกษา 2 คน  ครูแนะแนว 2 คน ตัวแทนผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 6  คน ตัวแทนนักเรียนจำนวน 10 คน ทีมผู้วิจัยนำข้อมูลที่ได้ทั้งหมดในแต่ละรอบมาวิเคราะห์ด้วยเทคนิคการประชุมระดมพลังสมอง (Brain Storming) สนามการวิจัย คือโรงเรียนสัตหีบวิทยาคม
ผลการวิจัยพบว่า ผลพัฒนาการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนสัตหีบวิทยาคมโดยใช้หลักการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม และได้ประยุกต์ใช้เทคนิคการบริหารแบบสมดุล เพื่อให้เกิดการพัฒนาครบทุกมุมมองที่เกี่ยวข้องและยั่งยืนให้สอดคล้องกับปัจจัยแห่งความสำเร็จของงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน คือด้านปัจจัย  ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต แบ่งออกเป็น 3 มุมมองได้แก่  มุมมองด้านการเรียนรู้และการพัฒนา มุมมองกระบวนการภายใน มุมมองด้านนักเรียน สามารถดำเนินงานที่ส่งผลให้ตัวชี้วัด (KPI) ประสบความสำเร็จทุกตัวชี้วัด สูงกว่าเป้าหมาย 3 ตัวชี้วัด และตรงตามเป้าหมาย 3 ตัวชี้วัด และพบปัจจัยแห้งความสำเร็จ 3 ประการ คือ 1) ทักษะทางการบริหาร 2) กระบวนการพัฒนาแบบมีส่วนร่วม PAOR ที่เป็นพลวัติ (Dynamic) และ 3) การพัฒนาที่เป็นระบบมีความต่อเนื่องและยั่งยืน โดยทุกกระบวนการเกิดจากการมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้อง ส่งผลให้โรงเรียนมีกระบวนการดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ผู้เรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา

คำสำคัญ : การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม/พัฒนาการดูแลช่วยเหลือนักเรียน/โรงเรียนสัตหีบวิทยาคม

ดาวน์โหลดบทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมพัฒนาการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนสัตหีบวิทยาคม

Comments

comments

- Advertisement -