รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนสตรีพังงา

0
616

ชื่อผลงาน: รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนสตรีพังงา ปี 2564
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพังงา ภูเก็ต ระนอง
ผู้: นางสาวเพ็ญรัศมี ศรีบุรุษ รองผู้อำนวยการโรงเรียนสตรีพังงา
หน่วยงาน: โรงเรียนสตรีพังงา ตำบลท้ายช้าง อำเภอเมือง จังหวัดพังงา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพังงา ภูเก็ต ระนอง
ปีที่ศึกษา: 2564


บทสรุปของผู้บริหาร
การประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนสตรีพังงา ปี 2564 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพังงา ภูเก็ต ระนอง ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินบริบท (Context) ของโครงการเกี่ยวกับความต้องการจำเป็นของโครงการ ความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ของโครงการ และความเป็นไปได้ของโครงการ 2) ประเมินปัจจัยนำเข้า (Input) ของโครงการเกี่ยวกับความเพียงพอและความเหมาะสมของบุคลากรงบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ สถานที่และการบริหารจัดการ 3) ประเมินกระบวนการ (Process) ของโครงการตามความเหมาะสมของการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการวางแผน การดำเนินการ การนิเทศติดตามและประเมินผล และการนำผลไปปรับปรุงพัฒนาโครงการ 4) ประเมินผลผลิต (Product) ของโครงการเกี่ยวกับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนที่เกิดจากโครงการและ ความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่มีต่อโครงการรูปแบบของการประเมินโครงการใช้รูปแบบการประเมินแบบชิปป์ (CIPP Model) ซึ่งเป็นการประเมิน 4 ด้าน คือ ด้านบริบท (Context) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ด้านกระบวนการ (Process) และด้านผลผลิต (Product) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมิน คือ บุคคลที่มีส่วนร่วมในการดำเนินงานตามโครงการ จำนวน 599 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 2 คน ครูผู้สอนจำนวน 50 คน คณะกรรมการสถานศึกษาฯ (ยกเว้นผู้อำนวยการโรงเรียนและผู้แทนครู) จำนวน 13 คน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 6 จำนวน 269 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (Sample Randomsampling) เทียบจากตารางกำหนดขนาดตัวอย่างของเครซี่และมอร์แกน และผู้ปกครองนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 265 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (Sample Random Sampling) เทียบจากตารางกำหนดขนาดตัวอย่างของเครซี่และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการ เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ตามแบบของลิเคิร์ท (Likert) จำนวน 5 ฉบับ ประกอบด้วย ฉบับที่ 1 แบบสอบถามเพื่อการประเมินโครงการด้านบริบท (Context) มีค่าความเชื่อมั่น 0.706 ฉบับที่ 2 แบบสอบถามเพื่อการประเมินโครงการด้านปัจจัยนำเข้า (Input มีค่าความเชื่อมั่น 0.862 ฉบับที่ 3 แบบสอบถามเพื่อการประเมินโครงการด้านกระบวนการ (Process) มีค่าความเชื่อมั่น 0.746 ฉบับที่ 4 แบบสอบถามเพื่อการประเมินโครงการด้านผลผลิต (Product) ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ มีค่าความเชื่อมั่น 0.880 และฉบับที่ 5 แบบสอบถามเพื่อการประเมินโครงการด้านความพึงพอใจที่มีต่อโครงการ มีค่าความเชื่อมั่น 0.789 เก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS (Statistical Package for Social Sciences หาค่เฉลี่ย (x̄) และค่ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
(S.D.) เปรียบเทียบกับเกณฑ์เฉลี่ย

ผลการประเมินพบว่า

1. ผลการประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนสตรีพังง ปี 2564 ในภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.15, S.D. = 0.211) ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือด้านบริบท มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.53 ผลการประเมินด้านบริบทของโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนสตรีพังงา ปีการศึกษา 2564 ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.53 , S.D. =0.275) ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ความต้องการจำเป็นของโครงการมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.60 ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนสตรีพังง ปีการศึกษา 2564 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.04 , 5.D. = 0.394) ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือปัจจัยนำเข้าด้านวัสดุอุปกรณ์ สถานที่มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.13 ผลการประเมินด้านกระบวนการของโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนสตรีพังงา ปีการศึกษา 2564 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̄ = 3.92 , S.D. =0.341) ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือการดำเนินงานมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.00 ผลการประเมินด้านผลผลิต : ด้านคุณลักษณะอันพีงประสงค์ของโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนสตรีพังงา ปีการศึกษา 2564 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( x̄ = 4.16 , S.D. =0.315) ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือความมีวินัย มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.24 ผลการประเมินด้านผลผลิต : ด้านความพึงพอใจที่มีต่อโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนสตรีพังงา ปีการศึกษา 2564 ในภาพรวมอยู่ใน ระดับมาก ( x̄ = 4.10 , S.D. =0.300) ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือผลการดำเนินโครงการบรรลุตามวัตถุประสงค์ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 9.32

ผลการวิจัยพบว่า

รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนสตรีพังงา

Comments

comments

- Advertisement -