การประเมินโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างมีคุณภาพโรงเรียนเทศบาล ๓ (โศภณพิทยาคุณานุสรณ์) สังกัดเทศบาลนครหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ปีการศึกษา 2562

0
474

ชื่อผลงาน : การประเมินโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างมีคุณภาพโรงเรียนเทศบาล ๓ (โศภณพิทยาคุณานุสรณ์) สังกัดเทศบาลนครหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ปีการศึกษา
ผู้ : นายวินัยพงษ์ คำแหง โรงเรียนเทศบาล ๓ (โศภณพิทยาคุณานุสรณ์) สังกัดเทศบาลนครหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
วิทยฐานะ :
ปีการศึกษา :
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การประเมินโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างมีคุณภาพโรงเรียนเทศบาล ๓ (โศภณพิทยาคุณานุสรณ์) สังกัดเทศบาลนครหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ปีการศึกษา ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินสภาพแวดล้อมของโครงการ ประเมินปัจจัยของโครงการ ประเมินกระบวนการของโครงการ และประเมินผลผลิตของโครงการ การประเมินใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) กลุ่มผู้ให้ข้อมูลมีจำนวนทั้งสิ้น 464 คน แบ่งเป็น ครู จำนวน 53 คน ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจำนวน 15 คน นักเรียน จำนวน 194 คน ผู้ปกครองนักเรียนจำนวน 194 คน คณะกรรมการประเมินผลผลิตโครงการด้านคุณภาพจำนวน 3 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน ประกอบด้วยแบบสัมภาษณ์ จำนวน 1 ฉบับ แบบสอบถาม 6 ฉบับ และแบบประเมิน 1 ฉบับ รวม 8 ฉบับ เก็บรวมรวบข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ สอบถาม และการประเมิน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการประเมิน และข้อเสนอแนะ สรุปได้ดังนี้
ผลการประเมิน
ผลการประเมินโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างมีคุณภาพโรงเรียนเทศบาล ๓ (โศภณพิทยาคุณานุสรณ์) สังกัดเทศบาลนครหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ปีการศึกษา พบว่าผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 15 ตัวชี้วัด และประเด็นการประเมินทุกประเด็น สรุปได้ดังนี้
1. ผลการประเมินประเด็นสภาพแวดล้อมของโครงการ มี 3 ตัวชี้วัด ในภาพรวม มีระดับความคิดเห็นในระดับเห็นด้วยอย่างยิ่ง (x-bar=4.67, S.D.=0.21) เมื่อพิจารณาแต่ละรายการตามตัวชี้วัด พบว่า ทุกตัวชี้วัดมีความเห็นในระดับเห็นด้วยอย่างยิ่ง โดยตัวชี้วัดที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ความสอดคล้องเหมาะสมของการดำเนินโครงการ (x-bar=4.76, S.D.=0.17) รองลงมา ได้แก่ ความต้องการจำเป็นของการดำเนินโครงการ (x-bar=4.68, S.D.=0.17) และ ความเป็นไปได้ของวัตถุประสงค์โครงการ (x-bar=4.55, S.D.=0.33) ตามลำดับ
2. ผลการประเมิน ประเด็นปัจจัยของโครงการ มี 5 ตัวชี้วัด ในภาพรวม พบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับเห็นด้วยอย่างยิ่ง (x-bar=4.64, S.D.=0.19) เมื่อพิจารณาแต่ละตัวชี้วัด พบว่า ทุกตัวชี้วัด มีความเห็นในระดับเห็นด้วยอย่างยิ่ง โดยตัวชี้วัดที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ตัวชี้วัดที่ 4 ความเพียงพอของวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ (x-bar=4.79, S.D.=0.29) ค่าเฉลี่ยรองลงมา ได้แก่ ตัวชี้วัดที่ 5 แนวทางการดำเนินโครงการ (x-bar=4.78, S.D.=0.31) และตัวชี้วัดที่ 3 ความชัดเจนของงบประมาณ (x-bar=4.58, S.D.=0.41) ตามลำดับ ส่วนตัวชี้วัดที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ ตัวชี้วัดที่ 2 การจัดองค์กร และโครงสร้างการบริหารงานโครงการ (x-bar=4.52, S.D.=0.48)
3. ผลการประเมิน ประเด็นกระบวนการของโครงการ มี 5 ตัวชี้วัด ในภาพรวม พบว่า มีค่าเฉลี่ยของการปฏิบัติในระดับมากที่สุด (x-bar=4.71, S.D.=0.08) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านมีการปฏิบัติในระดับมากที่สุด โดยด้านที่ 1 การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (x-bar=4.84, S.D.=0.15) รองลงมาคือด้าน ที่ 5 การส่งต่อ (x-bar=4.75, S.D.=0.20) และด้านที่ 3 การส่งเสริมพัฒนานักเรียน (x-bar=4.71, S.D.=0.16) ตามลำดับ ส่วนด้านที่ 4 การป้องกันและการช่วยเหลือ มีค่าเฉลี่ยของระดับการปฏิบัติต่ำสุด (x-bar=4.59, S.D.=0.18)
4. ผลการประเมิน ผลผลิตของโครงการ มี 2 ตัวชี้วัด ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ
ส่วนที่ 1 . คุณภาพของการดำเนินงานโครงการ ในภาพรวมได้ค่าเฉลี่ยคุณภาพอยู่ในระดับดีเด่น (x-bar=3.72, S.D.=0.26) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านบุคลากรมีค่าเฉลี่ยสูงสุด (x-bar=4.79, S.D.=0.26) คุณภาพอยู่ในระดับยอดเยี่ยม รองลงมา ด้านกระบวนการดำเนินงานโครงการ (x-bar=3.70, S.D.=0.26) คุณภาพอยู่ในระดับดีเด่น และด้านคุณภาพนักเรียน (x-bar=3.67, S.D.=0.29) คุณภาพอยู่ในระดับดีเด่น ตามลำดับ ซึ่งถือว่าผ่านเกณฑ์ทุกด้าน ส่วนที่ 2 การมีส่วนร่วมต่อการดำเนินงานโครงการในภาพรวม พบว่า มีค่าเฉลี่ยในการมีส่วนร่วมอยู่ในระดับมาก (x-bar=4.43, S.D.=0.36) เมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่มตัวอย่าง พบว่า คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด มีส่วนร่วมในระดับมากที่สุด (x-bar=4.59, S.D.=0.25)รองลงมา ผู้ปกครองนักเรียน มีส่วนร่วมในระดับมาก (x-bar=4.39, S.D.=0.29) นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา มีส่วนร่วมในระดับมาก (x-bar=4.38, S.D.=0.30) ตามลำดับ ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือเป็นครูประจำชั้นแต่ยังมีส่วนร่วมในระดับมาก (x-bar=4.34, S.D.=0.18)
5. ผลการประเมินในภาพรวม พบว่า ได้คะแนนรวม 88.5 คะแนน จากคะแนนเต็ม 100 คะแนน ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายประเด็น พบว่า ทั้ง 4 ประเด็นผ่านเกณฑ์ การประเมินเมื่อพิจารณาตัวชี้วัด พบว่า ผ่านเกณฑ์ทั้ง 15 ตัวชี้วัด เช่นกัน โดย13 ตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์ในระดับมากที่สุด ยกเว้น 2 ตัวชี้วัดในประเด็นผลผลิตของโครงการ คือ ตัวชี้วัดที่ 1. คุณภาพของ การดำเนินงานโครงการ มีผลการประเมินคุณภาพในระดับดีเด่น และ ตัวชี้วัดที่ 2. การมีส่วนร่วมต่อการดำเนินงานตามโครงการ มีผลการประเมินในการร่วมการดำเนินโครงการในระดับมาก
ข้อเสนอแนะ
1. การดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างมีคุณภาพโรงเรียนเทศบาล ๓ (โศภณพิทยาคุณานุสรณ์) สังกัดเทศบาลนครหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ปีการศึกษา ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นและตัวชี้วัดครบทั้ง 15 ตัวชี้วัด ทั้งนี้จึงเห็นควรให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดคุณประโยชน์ต่อตัวนักเรียน สถานศึกษา และชุมชน อย่างแท้จริงยั่งยืน
2. สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรจัดสรรงบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ สำหรับบุคลากรที่ใช้ในการดำเนินงานพัฒนาระบบดูแลนักเรียนอย่างเหมาะสมและเพียงพอ
3. การดำเนินงานตามโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างมีคุณภาพโรงเรียนเทศบาล ๓ (โศภณพิทยาคุณานุสรณ์) สังกัดเทศบาลนครหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ปีการศึกษา นี้ สามารถนำไปใช้ในการดำเนินงานหรือเป็นข้อมูลสารสนเทศ สำหรับงานการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ในสถานศึกษาอื่น ๆ ต่อไป

ดาวน์โหลดบทคัดย่อ

การประเมินโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างมีคุณภาพโรงเรียนเทศบาล ๓ (โศภณพิทยาคุณานุสรณ์) สังกัดเทศบาลนครหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ปีการศึกษา 2562 ไทย

การประเมินโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างมีคุณภาพโรงเรียนเทศบาล ๓ (โศภณพิทยาคุณานุสรณ์) สังกัดเทศบาลนครหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ปีการศึกษา 2562 Abstract

Comments

comments

- Advertisement -