รายงานการประเมินโครงการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนโดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC : Professional Learning Community) โรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี ๒ สงขลา

0
420

ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนโดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC : Professional Learning Community) โรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี ๒ สงขลา ปีการศึกษา
ผู้รายงาน นางกรธิดา สงนุ้ย รองผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี ๒ สงขลา
ปีที่รายงาน ปีการศึกษา
บทสรุป
รายงานการประเมินโครงการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC : Professional Learning Community) โรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี ๒ สงขลา ปีการศึกษา โดยใช้รูปแบบการประเมินของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam’s CIPP Model) เป็นกรอบแนวคิดในการประเมินโดยประเมิน 4 ด้าน มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการของโครงการ และด้านผลผลิตของโครงการ ประกอบด้วย 1) ระดับคุณภาพโครงการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC : Professional Learning Community) 2) ความพึงพอใจของนักเรียนและผู้ปกครองที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ของครู โรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี ๒ สงขลา 3) ความพึงพอใจของครูที่มีต่อการดำเนินโครงการ 4) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี ๒ สงขลา จำแนกเป็น 4.1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา 4.2) ผลการประเมินสมรรถนะนักเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา และ 4.3) ผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ครูผู้สอน จำนวน 70 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 310 คน และผู้ปกครอง จำนวน 310 คนเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินมีจำนวน 9 ฉบับ มี 2 ลักษณะ ดังนี้ ลักษณะที่ 1 มีลักษณะมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) จำนวน 6 ฉบับ ได้แก่ ฉบับที่ 1 แบบสอบถามด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อม ฉบับที่ 2 แบบสอบถามด้านปัจจัยนำเข้า ฉบับที่ 3 แบบสอบถามด้านกระบวนการ ฉบับที่ 4 แบบสอบถามด้านผลผลิตเกี่ยวกับระดับการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC : Professional Learning Community) ฉบับที่ 5 แบบสอบถามด้านผลผลิตเกี่ยวกับความพึงพอใจของนักเรียนและผู้ปกครองต่อการจัดการเรียนรู้ของครู โรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี ๒ สงขลา ฉบับที่ 6 แบบสอบถามด้านผลผลิตเกี่ยวกับความพึงพอใจของครูที่มีต่อโครงการ ทุกฉบับมีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือได้ค่าความเชื่อมั่นระหว่าง .83 – .95 ลักษณะที่ 2 จำนวน 3 ฉบับ ได้แก่ แบบบันทึกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในระดับสถานศึกษา ปีการศึกษา 2564 ตามสภาพจริง แบบบันทึกผลการประเมินสมรรถนะนักเรียน ปีการศึกษา 2564 ตามสภาพจริง และแบบบันทึกผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรสถานศึกษา ปีการศึกษา 2564 ตามสภาพจริง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)

ผลการประเมินพบว่า
การประเมินโครงการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC : Professional Learning Community) โรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี ๒ สงขลา ปีการศึกษา สรุปผลตามวัตถุประสงค์ของโครงการ ดังนี้

  1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อมของโครงการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC : Professional Learning Community) โรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี ๒ สงขลา ปีการศึกษา ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามประเด็นตัวชี้วัด และเกณฑ์การประเมิน พบว่า ผลการประเมินด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อมของโครงการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC : Professional Learning Community) โรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี ๒ สงขลา ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำแนกตามประเด็นตัวชี้วัด และเกณฑ์การประเมิน พบว่า โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ย (x̄= 4.56 , S.D. = 0.60) อยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวม และทุกประเด็นตัวชี้วัด
  2. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC : Professional Learning Community) โรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี ๒ สงขลา ปีการศึกษา ตามความคิดเห็นของครู ตามประเด็นตัวชี้วัด และเกณฑ์การประเมิน พบว่า ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC : Professional Learning Community) โรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี ๒ สงขลา ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของครู จำแนกตามประเด็นตัวชี้วัด และเกณฑ์การประเมิน พบว่า โดยภาพรวมครูมีความคิดเห็น ( x̄= 4.62 , S.D. = 0.46) อยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวม และทุกประเด็นตัวชี้วัด
  3. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านกระบวนการของโครงการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC : Professional Learning Community) โรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี ๒ สงขลา ปีการศึกษา ตามความคิดเห็นของครู ตามประเด็นตัวชี้วัด และเกณฑ์การประเมิน พบว่า ผลการประเมินด้านกระบวนการของโครงการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC : Professional Learning Community) โรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี ๒ สงขลา ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของครู จำแนกตามตัวชี้วัด และเกณฑ์การประเมิน พบว่า โดยรวมครูมีความคิดเห็น ( x̄= 4.88 , S.D. = 0.30) อยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวม และทุกประเด็นตัวชี้วัด
  4. ผลการประเมินด้านผลผลิต จำแนกเป็น 4.1 ระดับคุณภาพการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC : Professional Learning Community) โรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี ๒ สงขลา ปีการศึกษา ตามความคิดเห็นของครู ตามประเด็นตัวชี้วัด และเกณฑ์การประเมิน พบว่า ผลการประเมินด้านผลผลิตเกี่ยวกับระดับคุณภาพการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC : Professional Learning Community) โรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี ๒ สงขลา ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของครู จำแนกตามตัวชี้วัด และเกณฑ์การประเมิน พบว่า โดยรวม ครูมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄= 4.76 , S.D. = 0.35) ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวม และทุกรายประเด็นตัวชี้วัด 4.2 ระดับความพึงพอใจของนักเรียนและผู้ปกครองต่อการจัดการเรียนรู้ของครู โรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี ๒ สงขลา ปีการศึกษา 2564 ตามประเด็นตัวชี้วัด และเกณฑ์การประเมิน พบว่า ผลการประเมินระดับความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ของครู โรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี ๒ สงขลา ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของนักเรียนและผู้ปกครอง จำแนกตามกลุ่มผู้ประเมิน ประเด็นตัวชี้วัด และเกณฑ์การประเมิน พบว่า ทั้งสองกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ย ( x̄= 4.67 , S.D. = 0.41) อยู่ในระดับมากที่สุด สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจโดยรวมมีค่าเฉลี่ย ( x̄= 4.70 , S.D. = 0.39) อยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมิน และผู้ปกครองมีความพึงพอใจโดยรวมมีค่าเฉลี่ย ( x̄= 4.66 , S.D. = 0.44) อยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน 4.3 ระดับความพึงพอใจของครูต่อการดำเนินโครงการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนโดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC : Professional Learning Community) โรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี ๒ สงขลา ปีการศึกษา 2564 ตามประเด็นตัวชี้วัด และเกณฑ์การประเมิน พบว่า ผลการประเมินระดับความพึงพอใจของครูที่มีต่อโครงการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนโดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC : Professional Learning Community) โรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี ๒ สงขลา ปีการศึกษา 2564 จำแนกตามประเด็นตัวชี้วัด และเกณฑ์การประเมิน พบว่า โดยภาพรวมครูมีความพึงพอใจโดยรวมมีค่าเฉลี่ย ( x̄= 4.61 , S.D. = 0.31) อยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์ภาพรวม และทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน 4.4 ผลการวิเคราะห์การพัฒนาผู้เรียน จำแนกเป็น 4.4.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในระดับสถานศึกษา โรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี ๒ สงขลา ปีการศึกษา 2564 โดยภาพรวมค่าเฉลี่ย ร้อยละ สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดผ่านเกณฑ์การประเมิน 4.4.2 ผลการประเมินสมรรถนะสำคัญของนักเรียน โรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี ๒ สงขลา ปีการศึกษา 2564 พบว่า โดยภาพรวมสมรรถนะสำคัญของนักเรียนทั้ง 5 สมรรถนะ อยู่ในระดับดีขึ้นไป มากกว่าร้อยละ 80 และเมื่อพิจารณาเป็นรายสมรรถนะสำคัญ พบว่า สมรรถนะความสามารถในการสื่อสาร มีค่าเฉลี่ยร้อยละ สูงสุด ร้อยละ 87.84 รองลงมาได้แก่ สมรรถนะความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต มีค่าเฉลี่ย ร้อยละ 86.88 ส่วนสมรรถนะความสามารถในการคิด มีค่าเฉลี่ยร้อยละต่ำสุด ร้อยละ 82.73 4.4.3 ผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน โรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี ๒ สงขลา ปีการศึกษา 2564 พบว่า โดยภาพรวมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนทั้ง 8 ประการอยู่ในระดับดีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 90 และเมื่อพิจารณาเป็นรายคุณลักษณะอันพึงประสงค์ พบว่า คุณลักษณะอันพึงประสงค์รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ร้อยละ 98.02 รองลงมาได้แก่ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ มีจิตสาธารณะ มีค่าเฉลี่ย ร้อยละ 97.31 ส่วนคุณลักษณะอันพึงประสงค์ มุ่งมั่นในการทำงาน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ร้อยละ 92.39 ข้อเสนอแนะ ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
    1. กิจกรรมการออกแบบการเรียนรู้อิงมาตรฐานโดยจับคู่ และนำเสนอผลงาน ควรดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อไปสู่ความยั่งยืน
    2. โรงเรียนควรประชาสัมพันธ์หรือเผยแพร่ผลสำเร็จที่เกิดกับโรงเรียน ครู และนักเรียน ให้กว้างยิ่งขึ้น
    3. โรงเรียนควรกำหนดมาตรการที่เป็นแรงจูงใจ เชิงบวกกรณีที่ครูสามารถพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โดยตรวจสอบจากพัฒนาการครอบคลุม 1) ผลสัมฤทธิ์ระดับสถานศึกษา 2) ผลการประเมินสมรรถนะสำคัญ และ 3) ผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน
      ข้อเสนอแนะในการประเมินหรือวิจัยครั้งต่อไป
    4. ควรมีการประเมินโครงการต่างๆ ในระดับกลุ่มงาน หรือกลุ่มงานย่อยทุกโครงการ โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) หรือรูปแบบอื่นที่เหมาะสม
    5. ควรวิจัยพัฒนาศักยภาพของชุมชนในโรงเรียน และองค์กร เครือข่ายความร่วมมือจากกลุ่ม หรือหน่วยงานต่างๆ ในการร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้มาใช้ในการพัฒนาชุมชนโรงเรียนให้เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้

ดาวน์โหลดบทคัดย่อ

รายงานการประเมินโครงการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนโดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC : Professional Learning Community) โรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี ๒ สงขลา

Comments

comments

- Advertisement -