ชื่อเรื่อง : รายงานการประเมินโครงการเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามอัตลักษณ์ผู้เรียน โรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี ๒ สงขลา ปีการศึกษา 2564
ผู้รายงาน : นายสาโรจ แก้วมณี รองผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี ๒ สงขลา
ปีที่รายงาน : ปีการศึกษา 2564
บทสรุป
รายงานการประเมินโครงการเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามอัตลักษณ์ผู้เรียน โรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี ๒ สงขลา ปีการศึกษา 2564 โดยใช้รูปแบบการประเมินรูปแบบซิปป์ (CIPP Model) ของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam) เป็นกรอบแนวคิดในการประเมินโดยประเมิน 4 ด้าน มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการของโครงการ และด้านผลผลิตของโครงการ ประกอบด้วย 1) ระดับคุณภาพการเสริมสร้างคุณลักษณะตามอัตลักษณ์ผู้เรียน โรงเรียนมัธยม
สิริวัณวรี ๒ สงขลา 2) คุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามอัตลักษณ์ผู้เรียนโรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี ๒ สงขลา ได้แก่ “แต่งกายดี มีสัมมาคารวะ” 3) คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี ๒ สงขลา 4) ความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีต่อโครงการเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามอัตลักษณ์ผู้เรียน โรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี ๒ สงขลา กลุ่มตัวอย่าง ครูผู้สอน จำนวน 70 คน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 310 คน และผู้ปกครอง จำนวน 310 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน โดยยกเว้นผู้บริหาร และตัวแทนครูเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินมีจำนวน 7 ฉบับ มี 2 ลักษณะ ดังนี้ ลักษณะที่ 1 มีลักษณะมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) จำนวน 5 ฉบับ ได้แก่ ฉบับที่ 1 แบบสอบถามด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อม ฉบับที่ 2 แบบสอบถามด้านปัจจัยนำเข้า ฉบับที่ 3 แบบสอบถามด้านกระบวนการดำเนินงาน ฉบับที่ 4 แบบสอบถามด้านผลผลิตเกี่ยวกับระดับคุณภาพในการดำเนินงานโครงการเสริมสร้างคุณลักษณะ
อันพึงประสงค์ตามอัตลักษณ์ผู้เรียน โรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี ๒ สงขลา ปีการศึกษา 2564 ฉบับที่ 5 แบบสอบถามด้านผลผลิตเกี่ยวกับความพึงพอใจของครูและผู้ปกครองเกี่ยวกับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามอัตลักษณ์ผู้เรียน ได้แก่ “แต่งกายดี มีสัมมาคารวะ” โรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี ๒ สงขลา ปีการศึกษา 2564 ฉบับที่ 7 แบบสอบถามด้านผลผลิต เกี่ยวกับความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ต่อการดำเนินโครงการเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามอัตลักษณ์ผู้เรียน โรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี ๒ สงขลา ปีการศึกษา 2564 ทุกฉบับมีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือได้ค่าความเชื่อมั่นระหว่าง .93 – .98 ลักษณะที่ 2 จำนวน 1 ฉบับ ได้แก่ แบบบันทึกผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรสถานศึกษา ของผู้เรียนโรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี ๒ สงขลา ปีการศึกษา 2564 ตามสภาพจริง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
ผลการประเมินพบว่า
การประเมินโครงการเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามอัตลักษณ์ผู้เรียน โรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี ๒ สงขลา ปีการศึกษา 2564 สรุปผลตามวัตถุประสงค์ของโครงการ ดังนี้
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อมของโครงการเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามอัตลักษณ์ผู้เรียน โรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี ๒ สงขลา ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและครู ตามประเด็นตัวชี้วัด และเกณฑ์การประเมิน พบว่า ผลการประเมินด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อมของโครงการเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามอัตลักษณ์ผู้เรียน โรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี ๒ สงขลา ปีการศึกษา 2564 โดยภาพรวม มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณา ในแต่ละด้าน พบว่า ด้านความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ของโครงการ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมามีค่าเฉลี่ยเท่ากันได้แก่ ความสอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด อยู่ในระดับมาก และ ความเป็นไปได้ของโครงการ อยู่ในระดับมาก ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือความต้องการจำเป็นของโครงการ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด อยู่ในระดับมาก เช่นกัน โดยพบว่า ทั้งสองกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่ม พบว่า คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และครูมีความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์
ตามอัตลักษณ์ผู้เรียน โรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี ๒ สงขลา ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของครู ตามประเด็นตัวชี้วัด และเกณฑ์การประเมิน พบว่า ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามอัตลักษณ์ผู้เรียน โรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี ๒ สงขลา ปีการศึกษา 2564 โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาในแต่ละด้าน พบว่า มีค่าเฉลี่ยสูงเท่ากัน 2 ด้านได้แก่ ด้านความพอเพียงของงบประมาณ และด้านความพร้อมด้านบุคลากร อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาได้แก่ ด้านความเหมาะสมการบริหารจัดการ อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านหน่วยงานที่สนับสนุนโครงการ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด อยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวม และทุกประเด็นตัวชี้วัด
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านกระบวนการของโครงการเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามอัตลักษณ์ผู้เรียน โรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี ๒ สงขลา ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง ตามประเด็นตัวชี้วัด และเกณฑ์การประเมิน พบว่า ผลการประเมินด้านกระบวนการของโครงการเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามอัตลักษณ์ผู้เรียน โรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี ๒ สงขลา ปีการศึกษา 2564 โดยรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ทั้งสามกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด และเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มผู้ประเมินพบว่า ครูมีความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ผู้ปกครองมีความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมาก และนักเรียนมีความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
ผลการประเมินด้านผลผลิต จำแนกเป็น
4.1 ระดับการเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามอัตลักษณ์ผู้เรียน โรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี ๒ สงขลา ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่าทั้งสามกลุ่มมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด และเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มพบว่า ผู้ปกครองมีความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมาก ครู มีความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมาก และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
4.2 คุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามอัตลักษณ์ผู้เรียน โรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี ๒ สงขลา ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของครู และผู้ปกครอง พบว่า ทั้งสองกลุ่มมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด และเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มผู้ประเมินพบว่า ผู้ปกครองมีความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมาก ครู มีความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยภาพรวมทั้งสองกลุ่มและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมินสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.3 คุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามอัตลักษณ์ผู้เรียน โรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี ๒ สงขลาปีการศึกษา 2564 พบว่า โดยภาพรวมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนทั้ง 8 ประการ อยู่ในระดับดีขึ้นไป ร้อยละ 96.72 และเมื่อพิจารณาเป็นรายคุณลักษณะอันพึงประสงค์ พบว่า คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ซื่อสัตย์ สุจริต มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ร้อยละ 97.12 รองลงมา ได้แก่ คุณลักษณะอันพึงประสงค์รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 97.06 ส่วนคุณลักษณะอันพึงประสงค์ มุ่งมั่นในการทำงาน มีค่าเฉลี่ยร้อยละต่ำสุด ร้อยละ 96.61 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.4 ความพึงพอใจในโครงการเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามอัตลักษณ์ผู้เรียน โรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี ๒ สงขลา ปีการศึกษา 2564 พบว่า โดยรวมทั้งสี่กลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมินพบว่า กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ กลุ่มครู อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนกลุ่มที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ กลุ่มนักเรียน และกลุ่ม ผู้ปกครอง อยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะสำหรับการนำผลการประเมินไปใช้
1.1 ควรดำเนินโครงการเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามอัตลักษณ์ผู้เรียน อย่างต่อเนื่อง เพื่อนำไปสู่คุณลักษณะอันพึงประสงค์อย่างยั่งยืน
1.2 ควรมีการขยายผลการดำเนินงานโครงการให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีส่วนร่วมดำเนินการ
อย่างต่อเนื่อง
ข้อเสนอแนะสำหรับการประเมินครั้งต่อไป
2.1 ควรมีการประเมินโครงการต่างๆ ทุกโครงการที่โรงเรียนดำเนินการโดยประยุกต์ใช้รูปแบบ
การประเมินอื่นๆ ที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์และสารสนเทศที่ต้องการคำตอบ
2.2 ควรศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จโครงการเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์
ตามอัตลักษณ์ผู้เรียน
2.3 ควรมีการประเมินโครงการในระดับองค์รวมของสถานศึกษาโดยประยุกต์ใช้รูปแบบ
การประเมินของซิปป์ (CIPP Model)
ดาวน์โหลดบทคัดย่อ