การประเมินโครงการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการศึกษา โรงเรียนเนินมะปรางศึกษาวิทยา ปีการศึกษา 2564

0
451
ชื่อเรื่องการประเมินโครงการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการศึกษา โรงเรียนเนินมะปรางศึกษาวิทยา ปีการศึกษา 2564
ผู้ศึกษาค้นคว้านางสาวธันย์ญาธิป  ฟองจางวาง
ตำแหน่งรองผู้อำนวยการโรงเรียนเนินมะปรางศึกษาวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์

การประเมินโครงการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา โรงเรียนเนินมะปรางศึกษาวิทยา ปีการศึกษา 2564 โดยประยุกต์ใช้การประเมินตามแบบจำลองซิปป์ (CIPP Model) ของแดเนียล แอล สตัฟเฟิลบีม (Daniel L. Stufflebeam) มีวัตถุประสงค์การประเมิน ดังนี้ 1) เพื่อประเมินบริบทของโครงการ (Context Evaluation) 2) เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการ (Input Evaluation) 3) เพื่อประเมินกระบวนการดำเนินงานของโครงการ (Process Evaluation)
4) เพื่อประเมินผลผลิตของโครงการ (Product Evaluation) ได้แก่ 4.1) การบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการจัดการเรียนการสอน 4.2) คุณลักษณะความพอเพียง 4.3) ความสามารถในการจำแนกพฤติกรรมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 4.4) ความพึงพอใจที่มีต่อการจัดกิจกรรมโครงการ แหล่งข้อมูล ได้แก่ 1) ผู้ จำนวน 5 คน 2) คณะกรรมการสถานศึกษา
ขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน 3) ครูผู้สอน จำนวน 42 คน 4) ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 271 คน
5) นักเรียน จำนวน 271 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน ได้แก่ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ แบบประเมิน และแบบทดสอบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ
ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการประเมินพบว่า

1. ผลการประเมินด้านบริบทของโครงการ ในด้านความเหมาะสมของการกำหนดโครงการ ความสอดคล้องของวัตถุประสงค์โครงการกับสภาวะแวดล้อม ความสอดคล้องของเป้าหมายโครงการกับนโยบายและสภาวะแวดล้อม และความพร้อมของปัจจัยเพื่อการดำเนินโครงการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาในแต่ละรายการ พบว่า ส่วนใหญ่อยู่ในระดับมากที่สุด โดยทุกรายการผ่านเกณฑ์

2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ ในด้านวิสัยทัศน์ เป้าหมาย และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ การปรับปรุงและเพิ่มเติมสาระการเรียนรู้ การพัฒนาการบริหารและ
การนิเทศติดตาม และการพัฒนาบุคลากร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาในแต่ละรายการ พบว่า ส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก โดยทุกรายการผ่านเกณฑ์

           3. ผลการประเมินด้านกระบวนการของโครงการ ในด้านการจัดกิจกรรม การวัดและประเมินผลระหว่างทำกิจกรรม แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน และการจัดบรรยากาศในการทำกิจกรรม ของกิจกรรมฐานการเรียนรู้ 9 ฐานการเรียนรู้ ได้แก่ ฐานการเรียนรู้ที่ 1 ตามรอยพ่อสู่วิถีพอเพียง         ฐานการเรียนรู้ที่ 2 เศรษฐ์มะละกอในวิถีพอเพียง ฐานการเรียนรู้ที่ 3 กีฬานำวินัยใจพอเพียง          ฐานการเรียนรู้ที่ 4 จักสานสร้างงานสู่อาชีพ  ฐานการเรียนรู้ที่ 5 รักการอ่านเพิ่มพูนปัญญาพัฒนาชีวิต ฐานการเรียนรู้ที่ 6 เด็กปั้นปันความสุขปลูกความรู้สู่หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ฐานการเรียนรู้ที่ 7 มัคคุเทศก์น้อยรักษ์เนินมะปราง ฐานการเรียนรู้ที่ 8 ออกแบบกราฟิกดีไซน์สร้างอาชีพสู่วิถีพอเพียง ฐานการเรียนรู้ที่ 9  สีสันบนผืนผ้าภูมิปัญญาเนินมะปราง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาในแต่ละรายการ พบว่า ส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก โดยทุกรายการผ่านเกณฑ์

4. ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการ มีผลการประเมิน ดังนี้

   4.1 ครูมีการบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการจัดการเรียนการสอน โดยมีผลการประเมินแผนการจัดการเรียนรู้บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงคิดเป็น
ร้อยละ 100 และความคิดเห็นของครูหัวหน้างานวิชาการ นักเรียน ผ่านเกณฑ์การประเมิน

    4.2 นักเรียนมีความสามารถในการจำแนกพฤติกรรมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ผ่านเกณฑ์การประเมิน

    4.3 นักเรียนมีคุณลักษณะความพอเพียง ผ่านเกณฑ์การประเมิน อยู่ในระดับมาก

    4.4 ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียน มีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมโครงการ
โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน

ดาวน์โหลดบทคัดย่อ

การประเมินโครงการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการศึกษา โรงเรียนเนินมะปรางศึกษาวิทยา ปีการศึกษา 2564

Comments

comments

- Advertisement -