รายงานการประเมินโครงการพัฒนางานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนสตรีนครสวรรค์

0
865

ชื่อเรื่อง           รายงานการประเมินโครงการพัฒนางานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ปี โรงเรียนสตรีนครสวรรค์
ผู้ประเมิน        นางสมกมล  วรรณทอง รองผู้อำนวยการโรงเรียนสตรีนครสวรรค์
ปีที่ประเมิน       ปี

บทคัดย่อ

          การประเมินโครงการพัฒนางานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ปี โรงเรียนสตรีนครสวรรค์ครั้งนี้ใช้รูปแบบการประเมินแบบ ของ Stufflebeam โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินด้านบริบท ด้านปัจจัย ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตของโครงการ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนสตรีนครสวรรค์ คณะกรรมการบริหารโครงการ ครูผู้สอนโรงเรียนสตรีนครสวรรค์ นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนสตรีนครสวรรค์ เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการ ได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป คำนวณหาค่าสถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

          ผลการประเมินโครงการพัฒนางานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ปี โรงเรียนสตรีนครสวรรค์ พบว่า ด้านบริบท (context) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ด้านกระบวนการ (Process) และด้านผลผลิต (Product) มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุดทั้ง 4 ด้าน

          ด้านบริบท (context) โดยภาพรวม พบว่า ด้านบริบทของโครงการมีความสอดคล้องอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ด้านบริบททุกข้อมีความสอดคล้องกับโครงการอยู่ในระดับมากที่สุดเช่นเดียวกัน

          ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) โดยภาพรวม พบว่า ด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้าน ได้แก่ ด้านบุคลากร ด้านงบประมาณ ด้านวัสดุอุปกรณ์และสถานที่ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ด้านปัจจัยนำเข้าทุกข้อมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด

          ด้านกระบวนการ (Process) โดยภาพรวม พบว่า ด้านกระบวนการของโครงการมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้าน ได้แก่ ด้านการปรับปรุงและพัฒนางาน ด้านการวางแผน และด้านการดำเนินงาน ประกอบด้วย 1) การอบรมเชิงปฏิบัติการงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน 2) การจัดการเรียนการสอนบูรณาการงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน 3) การเผยแพร่และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การประชุมวิชาการและการจัดนิทรรศการ 4) การประชุม อบรม ของครูและบุคลากรทางการศึกษา มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ด้านกระบวนการรายข้อทุกข้อมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด

          ด้านผลผลิต (Product) โดยภาพรวม พบว่า ด้านผลผลิตของโครงการมีความสอดคล้องอยู่ในระดับ
มากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้าน ได้แก่ ผลที่เกิดขึ้นกับนักเรียน ผลที่เกิดขึ้นกับสถานศึกษาและผลที่เกิดขึ้นกับครู มีความสอดคล้องอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ด้านผลผลิตทุกข้อมีความสอดคล้องอยู่ในระดับมากที่สุด

ดาวน์โหลดบทคัดย่อ

รายงานการประเมินโครงการพัฒนางานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ปี 2562 โรงเรียนสตรีนครสวรรค์

Comments

comments

- Advertisement -