ชื่อเรื่อง “นวัตกรรมและสื่อการเรียนรู้ครูสู่มาตรฐานสากล” โรงเรียนกรรณสูตศึกษาลัย จังหวัดสุพรรณบุรี
ผู้รับผิดชอบ นางวรรณพัทร ซื่อตรง
ระยะเวลาการดำเนินโครงการ ปีการศึกษา 2564
วัตถุประสงค์ของการประเมินโครงการ
การประเมินโครงการครั้งนี้ ผู้รายงานได้ยึดรูปแบบของการประเมิน CIPPEST MODEL โดยกำหนดวัตถุประสงค์ของการประเมินโครงการ ดังนี้
- เพื่อประเมินโครงการ“นวัตกรรมและสื่อการเรียนรู้ครูสู่มาตรฐานสากล” โรงเรียนกรรณสูตศึกษาลัย
จังหวัดสุพรรณบุรี ด้านบริบท - เพื่อประเมินโครงการ“นวัตกรรมและสื่อการเรียนรู้ครูสู่มาตรฐานสากล” โรงเรียนกรรณสูตศึกษาลัย
จังหวัดสุพรรณบุรี ด้านปัจจัยนำเข้า - เพื่อประเมินโครงการ“นวัตกรรมและสื่อการเรียนรู้ครูสู่มาตรฐานสากล” โรงเรียนกรรณสูตศึกษาลัย
จังหวัดสุพรรณบุรี ด้านกระบวนการ - เพื่อประเมินโครงการ“นวัตกรรมและสื่อการเรียนรู้ครูสู่มาตรฐานสากล” โรงเรียนกรรณสูตศึกษาลัย
จังหวัดสุพรรณบุรี ด้านผลผลิต - เพื่อประเมินโครงการ“นวัตกรรมและสื่อการเรียนรู้ครูสู่มาตรฐานสากล” โรงเรียนกรรณสูตศึกษาลัย
จังหวัดสุพรรณบุรี ด้านผลกระทบ - เพื่อประเมินโครงการ“นวัตกรรมและสื่อการเรียนรู้ครูสู่มาตรฐานสากล” โรงเรียนกรรณสูตศึกษาลัย
จังหวัดสุพรรณบุรี ด้านประสิทธิภาพ - เพื่อประเมินโครงการ“นวัตกรรมและสื่อการเรียนรู้ครูสู่มาตรฐานสากล” โรงเรียนกรรณสูตศึกษาลัย
จังหวัดสุพรรณบุรี ด้านความยั่งยืน - เพื่อประเมินโครงการ“นวัตกรรมและสื่อการเรียนรู้ครูสู่มาตรฐานสากล” โรงเรียนกรรณสูตศึกษาลัย
จังหวัดสุพรรณบุรี ด้านการถ่ายโยงความรู้
วิธีดำเนินการประเมินโครงการ
การประเมินโครงการ“นวัตกรรมและสื่อการเรียนรู้ครูสู่มาตรฐานสากล” โรงเรียนกรรณสูตศึกษาลัย
จังหวัดสุพรรณบุรี ดำเนินการในระหว่าง ปีการศึกษา 2564
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากรที่ใช้ครั้งนี้ ได้แก่ ผู้อำนวยการ 1 คน รองผู้อำนวยการ 5 คน ครู 142 คน กรรมการสถานศึกษา 15 คน เครือข่ายผู้ปกครอง 6 คน
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ครั้งนี้ได้จากการเปิดตารางของ Krejcie and Morgan (1970) ที่ระดับความเชื่อมั่น 95เปอร์เซ็นต์ ได้ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง ……. คน ได้แก่ ผู้อำนวยการ รอง ครู กรรมการสถานศึกษา คน เครือข่ายผู้ปกครอง คน
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการ
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการ คือ
- การประเมินด้านบริบท ใช้แบบรวบรวมข้อมูลโครงการศึกษาจากเอกสาร พิจารณาจากวัตถุประสงค์
ของโครงการ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2 ) พ.ศ. 2545 มาตรฐานการศึกษาชาติ การประกันคุณภาพการศึกษา แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนกรรณสูตศึกษาลัย จังหวัดสุพรรณบุรี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุพรรณบุรี - การประเมินด้านปัจจัยนำเข้า ใช้แบบสอบถามที่ผู้ประเมินโครงการสร้างขึ้นเพื่อพัฒนาปัจจัย
ด้านบุคลากร วัสดุอุปกรณ์ งบประมาณและการบริหารจัดการโดยการถามเฉพาะครูในโรงเรียนกรรณสูตศึกษาลัย จังหวัดสุพรรณบุรี - การประเมินด้านกระบวนการ ใช้แบบสอบถามที่ผู้ประเมินโครงการสร้างขึ้นเพื่อพิจารณากระบวนการ
วางแผน การปฏิบัติตามแผน และการประเมินผล โดยสอบถามครูในโรงเรียนกรรณสูตศึกษาลัย จังหวัดสุพรรณบุรี - การประเมินด้านผลผลิตของโครงการใช้แบบสอบถามที่ผู้ประเมินโครงการสร้างขึ้น เพื่อพิจารณาการ
ดำเนินโครงการและคุณภาพผู้เรียน - การประเมินด้านผลกระทบ ใช้แบบประเมินที่ผู้ประเมินโครงการสร้างขึ้นเพื่อศึกษาการมีส่วนร่วม
ของบุคลากร ความรู้ความเข้าใจของครู และคุณภาพนักเรียน - การประเมินด้านประสิทธิผล ใช้แบบสอบถามที่ผู้ประเมินโครงการสร้างขึ้น เพื่อพิจารณาประสิทธิผล
4 ด้าน คือ ด้านการจัดการ ด้านการสร้างสัมพันธ์ ด้านการดำเนินงานที่คุ้มค่าและความพึงพอใจในการดำเนินงาน - การประเมินด้านความยั่งยืน ใช้แบบสอบถามที่ผู้ประเมินโครงการสร้างขึ้น เพื่อพัฒนาการนำความรู้
ที่ได้มาใช้ในการพัฒนางาน การประยุกต์องค์ความรู้ที่ได้ไปสู่งานอื่น การทำงานเป็นทีม และแนวปฏิบัติที่นำไปสู่ความสำเร็จ - การประเมินด้านการถ่ายโยงความรู้ ใช้แบบสอบถามเพื่อพัฒนาการต่อยอดแนวคิด การปรับกลยุทธ์
ในการแก้ปัญหา การนำไปใช้เกี่ยวกับทฤษฎีใหม่ นำไปปรับความรู้ให้เหมาะสม เป็นที่ปรึกษาให้หน่วยงานอื่น
ผลการประเมินโครงการ - ผลการประเมินความสอดคล้องระหว่างวัตถุประสงค์ของโครงการกับมาตรฐานชาติและมาตรฐาน
การประกันคุณภาพการศึกษา และแผนการศึกษาของโรงเรียนกรรณสูตศึกษาลัย จังหวัดสุพรรณบุรี - ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า ปัจจัยยทั้ง 4 ด้าน คือ บุคลากร วัสดุอุปกรณ์ งบประมาณ
และการบริหารจัดการ มีส่วนช่วยให้บรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ - ผลการประเมินด้านกระบวนการ พบว่า กระบวนการวางแผน การปฏิบัติตามแผนและการ
ประเมินผล มีความเหมาะสมมาก - ผลการประเมินด้านผลผลิต พบว่า ผลการดำเนินโครงการมีประสิทธิภาพ เปรียบเทียบค่าเฉลี่ย
ความคิดเห็นของ กลุ่มตัวอย่างทั้ง 3 กลุ่ม คือ ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน ผลที่ได้ไม่แตกต่างกันทางสถิติ - การประเมินผลกระทบ พบว่า บุคลากรภายในและภายนอกมีส่วนร่วม ความรู้ความเข้าใจของครู
และคุณภาพนักเรียนด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น - การประเมินด้านประสิทธิผล พบว่า ประสิทธิผลทั้ง 4 ด้าน คือ กระบวนการ ด้านการสร้างสัมพันธ์
ด้านการดำเนินงานที่คุ้มค่า และความพึงพอใจในการดำเนินงาน อยู่ในระดับมากที่สุด - ผลการประเมินด้านความยั่งยืน พบว่า โครงการ“นวัตกรรมและสื่อการเรียนรู้ครูสู่มาตรฐานสากล”
โรงเรียนกรรณสูตศึกษาลัย จังหวัดสุพรรณบุรี สามารถนำไปสุ่การนำความรู้ที่ได้มาใช้ในการพัฒนางาน
การประยุกต์องค์ความรู้ที่ได้ไปสู่งานอื่น การทำงานเป็นทีม และเป็นแนวทางปฏิบัติที่นำไปสู่ความสำเร็จได้ - ผลการประเมินด้านการถ่ายโยงความรู้ พบว่า โครงการ “นวัตกรรมและสื่อการเรียนรู้ครูสู่
มาตรฐานสากล” โรงเรียนกรรณสูตศึกษาลัย จังหวัดสุพรรณบุรี นำไปสู่การต่อยอดแนวคิด การปรับกลยุทธ์
ในการแก้ปัญหา นำไปใช้เกี่ยวกับทฤษฎีใหม่ นำไปปรับความรู้ให้เหมาะสม และเป็นที่ปรึกษาให้หน่วยงานอื่นได้
ดาวน์โหลดบทคัดย่อ
“นวัตกรรมและสื่อการเรียนรู้ครูสู่มาตรฐานสากล” โรงเรียนกรรณสูตศึกษาลัย จังหวัดสุพรรณบุรี